วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โครงการรถไฟฟ้า เดินทามาใก้ล โครงการสิวารัตน์ จริงๆ มาบางบัวทอง



โครงการรถไฟฟ้า เดินทางมาใกล้ โครงการสิวารัตน์ 9

แนวเส้นทาง เป็นส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมและสายสุขุมวิท รวมระยะทาง 24 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

- ช่วงแรก จากอ่อนนุช-สำโรง-สมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นการก่อสร้างที่สถานีอ่อนนุชจากนั้นวิ่งไปตามถนนสุขุมวิทผ่านแยกบางนาไปทางสำโรงจนถึงสมุทรปราการ

- ช่วงสอง จากพระราม 1-ปิ่นเกล้า-จรัญสนิทวงศ์ มีจุดเริ่มต้นจากสถานีสนามกีฬาในแนวถนนบำรุงเมืองเข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลางและลอด ใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้าไปจนถึงสถานีรถไฟธนบุรีแล้วเข้าสู่แนวถนนพรานนก จากนั้นจึงจะเริ่มยกระดับเมื่อเลยแยกพรานนก ไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์

รูปแบบโครงการ แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง คือ

- ช่วงอ่อนนุช-สำโรง ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร โครงสร้างการก่อสร้างเป็นทางยกระดับตลอดแนวสายทางอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประมาณ 5.6 กิโลเมตร และมีแนวเขตทางอยู่ในพื้นที่สำโรงประมาณ 3.3 กิโลเมตร

- ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างยกระดับโดยตลอดและ ช่วงพระราม 1-พรานนก (สามแยกไฟฉาย) ระยะทาง 6.8 กิโลเมตร โดยตลอดแนวสายทางจะมีโครงสร้างที่เป็นทั้งโครงสร้างยกระดับและโครงสร้างอุโมงค์

สถานีขึ้น-ลง : ผลการศึกษาในขั้นต้นระบุว่าจะมีการก่อสร้างสถานีรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 28 สถานี ทั้งแบบชานชาลากลาง และชานชาลาด้านข้าง ซึ่งแต่ละสถานีจะมีระยะห่างกัน 1 กิโลเมตรต่อสถานี ได้แก่

1. สถานี พรานนก
2. สถานี ศิริราช
3. สถานี หลานหลวง
4. สถานี ราชดำเนิน
5. สถานี มหานาค
6. สถานี สนามกีฬา
7. สถานี สยาม
8. สถานี ชิดลม
9. สถานี เพลินจิต
10. สถานี นานา
11. สถานี อโศก
12. สถานี พร้อมพงศ์
13. สถานี ทองหล่อ
14. สถานี เอกมัย
15. สถานี พระโขนง
16. สถานี อ่อนนุช
17. สถานี บางจาก
18. สถานี สุขุมวิท 101
19. สถานี อุดมสุข
20. สถานี บางนา
21. สถานี ลาซาล
22. สถานี สำโรง
23. สถานี พระประแดง
24. สถานี ช้างสามเศียร
25. สถานี อุดมเดช
26. สถานี ศาลากลาง
27. สถานี ศรีนครินทร์
28. สถานี สมุทรปราการ


แผนการก่อสร้างเริ่มต้นและแล้วเสร็จ

- ช่วงอ่อนนุช-สำโรง เบื้องกำหนดจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2547 แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม2550

- ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 แล้วเสร็จในเดือนมกราคม2552

- ช่วงพระราม 1-พรานนก จะเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายน 2549 แล้วเสร็จในเดือนเมษายน2553

ความคืบหน้า การก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด เนื่องจากขณะนี้ยังติดขัดในเรื่องของการเจรจาซื้อคืนสัมปทานการ เดินรถจากบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ตามแนวคิดของรัฐบาลที่ยังหาข้อยุติในเรื่องของ แนวทางและราคาในการซื้อคืนได้ ส่งผลให้การดำเนินงานคลาดเคลื่อนไปจากแผนที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งยังไม่สามารถระบุได้ แน่ชัดว่าจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อใด

************************************************

2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (สะพานใหม่-บางหว้า)


หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรุงเทพมหานคร (กทม.)

แนวเส้นทาง : เป็นส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมและสายสุขุมวิท รวมระยะทาง 19 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

- ช่วงสะพานใหม่-บางหว้า เป็นการก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมทั้งในด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ สำหรับด้าน ทิศเหนือ จะเป็นช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 12 กิโลเมตรโดยจะก่อสร้าง เป็นโครงสร้างทางยกระดับ จะเริ่มต่อขยายเส้น ทางที่สถานีหมอชิต ข้ามแยกลาดพร้าววิ่งไปตามถนนพหลโยธินผ่านแยกรัชโยธิน สะพานข้ามแยกเกษตร และวิ่งผ่านหลักสี่ ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่

- ช่วงสะพานตากสิน-เพชรเกษม เป็นการก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมในด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ช่วงสะพานตากสิน-ถนนตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร และช่วงถนนตากสิน-เพชรเกษม ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร โดยตลอดแนวสายทางจะเป็นโครงสร้างทางยกระดับ เชื่อมต่อเส้นทางเดิมของรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีสะพานตากสิน วิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามถนนกรุงธนบุรี ผ่านถนนตากสิน ถนนรัชดาภิเษก ถนนวุฒากาศ ถนนแยกตากสิน-เพชรเกษม จนสิ้นสุดที่ถนนเพชรเกษม

รูปแบบโครงการ

- ช่วงจากหมอชิต-สะพานใหม่ เป็นโครงสร้างยกระดับโดยตลอด ข้ามแยกลาดพร้าว ไปตามถนนพหลโยธิน ซึ่งเป็นถนน 6 ช่องจราจรแบบมีเกาะกลาง ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่

- ช่วงจากสะพานตากสิน-ถนนตากสิน-เพชรเกษม จะเป็นโครงสร้างยกระดับโดยตลอด ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปตาม ถนนกรุงธนบุรีและวิ่งขนานไปตามแนวถนนตากสิน-เพชรเกษม ไปจนถึงถนนเพชรเกษม โดยปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างไป แล้ว ในช่วงจากสถานีตากสิน-ถนนตากสิน

สถานีขึ้น-ลง รูปแบบสถานีจะมีทั้งแบบชานชาลากลาง และชานชาลาด้านข้าง โดยแต่ละสถานีจะมีระยะห่างกัน 1 กิโลเมตร ต่อสถานี รวมทั้งสิ้น 15 สถานี แบ่งเป็น

สถานีขึ้น-ลง ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ มีจำนวน 10 สถานี ได้แก่

1.สถานี ดอนเมือง
2.สถานี สะพานใหม่
3.สถานี รามอินทรา
4.สถานี บางบัว
5.สถานี ศรีปทุม
6.สถานี เกษตร
7.สถานี เสนานิคม
8.สถานี รัชโยธิน
9.สถานี แดนเนรมิต
10.สถานี ลาดพร้าว

สถานีขึ้น-ลงช่วงตากสิน-เพชรเกษม-บางหว้า มีจำนวน 5 สถานี ได้แก่

1.สถานี วงเวียนใหญ่
2.สถานี ท่าพระ
3.สถานี ศูนย์ตากสิน
4.สถานี ภาษีเจริญ
5.สถานี บางหว้า

แผนการก่อสร้าง

- ช่วงสะพานตากสิน-ถนนตากสิน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2547 และกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จใน เดือนพฤศจิกายน 2548

- ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนสิงหาคม 2548 กำหนดแล้วเสร็จในเดือน พฤศจิกายน 2551

- ช่วงถนนตากสิน-เพชรเกษม จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนกันยายน 2548 และคาดว่าจะแล้วเสร็จใน เดือนเมษายน 2550

ความคืบหน้า การก่อสร้าง ส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงถนนตากสิน-เพชรเกษม ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเสร็จแล้ว เหลือเพียงแค่การดำเนินการวางรางและ จัดหาผู้เดินระบบรถไฟฟ้า พร้อมทั้งทำการก่อสร้างส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือนั้นการก่อสร้างไม่ได้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด เนื่องจากขณะนี้ยังติดขัดในเรื่องของการเจรจาซื้อคืนสัมปทานการ เดินรถ จากบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ตามแนวคิดของรัฐบาลที่ยังหาข้อยุติในเรื่องของแนวทางและราคาในการซื้อคืนได้จึงส่งผล ให้การดำเนินงานคลาดเคลื่อนไปจากแผนที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อใด

************************************************


3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (วงแหวนรอบในและช่วงท่าพระ-บางแค)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ: การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

แนวเส้นทาง เป็นการพัฒนาระบบเพิ่มเติมจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ

- ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ เป็นการต่อขยายเส้นทางจากช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ให้สามารถเดินรถได้ในลักษณะเป็นวงรอบ เริ่มจากสถานีหัวลำโพงเป็นโครงสร้างอุโมงค์ไปตามแนวถนนเจริญกรุงเลี้ยวซ้ายเข้าแนวถนนสนามไชย ลอด เกาะรัตนโกสินทร์และลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วจะเริ่มยกระดับขึ้นเป็นโครงสร้างยกระดับบริเวณสี่แยกท่าพระ

- ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ เป็นการต่อขยายเส้นทางจากช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ให้สามารถเดินรถได้ในลักษณะเป็นวงรอบ ซึ่งจะเริ่มจากสถานีบางซื่อแล้วยกระดับขึ้นมาเป็นโครงสร้างยกระดับตามแนว ถนนประชาราษฎร์สาย 2 จนข้าม แม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเลี้ยวลงมาตามแนว ถนนจรัญสนิทวงศ์ และวิ่งยกระดับไปจนถึงสี่แยกท่าพระ

- ช่วงท่าพระ-บางแค เป็นการต่อขยายเส้นทางโดยเริ่มจากสถานีท่าพระ เป็นโครงสร้างยกระดับไปตามแนวถนนเพชรเกษม โดยตลอดจนถึงถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก) บริเวณบางแค

รูปแบบโครงการ: แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ช่วง คือ

- ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร ตลอดแนวเส้นทางจะก่อสร้างเป็นทางยกระดับและอุโมงค์ใต้ดิน โดยที่เป็นโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินมีระยะทาง 4.792 กิโลเมตร โครงสร้างยกระดับ 1.708 กิโลเมตร

- ช่วงท่าพระ-บางแค ระยะทาง 7.6 กิโลเมตร แนวเส้นทางการก่อสร้างเป็นทางยกระดับไปตามแนวถนนเพชร- เกษมจนถึงถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) บริเวณบางแค

- ช่วงจากบางซื่อ-ท่าพระ (สะพานพระนั่งเกล้า) ระยะทาง 13.1 กิโลเมตร การก่อสร้างเป็นงทางยกระดับ ตลอด แนวเส้นทาง

สถานีขึ้น-ลง รูปแบบของสถานีมีทั้งแบบชานชาลากลา และชานชาลาด้านข้าง มีจุดขึ้น-ลงสถานีรวม 10 สถานี คือ

สถานีใต้ดิน 4 สถานี ได้แก่

1.สถานี วัดมังกร
2.สถานี วังบูรพา
3.สถานี ปากคลองตลาด
4.สถานี บางกอกใหญ่

สถานียกระดับ 6 สถานี ได้แก่

1.สถานี ท่าพระ
2.สถานี บางไผ่
3.สถานี บางหว้า
4.สถาน ภาษีเจริญ
5.สถานี บางแค
6.สถานี หลักสอง

แผนการก่อสร้าง แบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้

- ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2548 และแล้วเสร็จประมาณเดือน พฤศจิกายน 2552

- ช่วงท่าพระ-บางแค จะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2548 แล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2551

- ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จะเริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2549 แล้วเสร็จประมาณเดือนธันวาคม 2552

ความคืบหน้า : คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินงานตามแผนงานต่อไป


************************************************

4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

แนวเส้นทาง : ระยะทางรวมทั้งสิ้น 43 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

- ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณสถานีบางซื่อยกระดับไปตาม แนวถนนไปยังสถานีเตาปูน สถานีวงศ์สว่าง สถานีนครินทร์ สถานีเรวดี สถานแครายสถานีศรีพรสวรรค์ สถานีแยกถนนนนทบุรี 1 สถานีพระนั่งเกล้า สถานีไทรม้า สถานีท่าอิฐ สถานีบางรัก ใหญ่สถานีบางบัวทอง สถานีคลองบางแพรก สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีตลาดบางใหญ่ และสถานีคลองบางไผ่เป็นสถานีสุดท้าย และเป็นที่ตั้งของศูนย์ ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า

- ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ จากบางซื่อ-สามเสนเป็นโครงสร้างยกระดับต่อเนื่องมาตามถนนประชา-ราษฎร์ และเริ่มลดระดับลงใต้ดิน เป็นโครงสร้างอุโมงค์เปลี่ยนมาเข้าแนวถนนประชาราษฎร์สาย 1 ต่อเนื่องมาถึงถนนสามเสน เลี้ยวเข้าถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร แล้วเบี่ยงแนวออกเพื่อหลบสะพานพระปกเกล้า ลอดใต้ แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนประชาธิปก ต่อเนื่องมาถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ และเริ่มยกระดับขึ้นมา เมื่อเลยแยกบางปะแก้วแล้ว ไปจนถึงบริเวณราษฎร์บูรณะ

รูปแบบโครงการ โครงสร้างทางวิ่งจะเป็นโครงสร้างยกระดับทั้งหมดตลอดสาย โดยใช้พื้นที่บริเวณเกาะกลางถนน เป็นส่วนใหญ่

สถานีขึ้น-ลง

- ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ มีสถานีขึ้น-ลงจำนวน 16 สถานี แต่ละสถานีห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร ได้แก่

1.สถานีเตาปูน ก่อสร้างเป็นสถานียกระดับบริเวณสะพานสูงบางซื่อ ข้ามคลองเปรมประชากรไปตามแนวถนนประชาราษฎร์ เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ

2. สถานีวงศ์สว่าง ผ่านสถานีตำรวจนครบาลเตาปูนถึงซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 39 บริเวณทางแยกตัดถนนวงศ์สว่าง

3.สถานีนครอินทร์ วิ่งตามถนนกรุงเทพ-นนท์ ถึงบริเวณทางแยกตัดถนนติวานนท์

4. สถานีเรวดี เลี้ยวขวาไปตามถนนติวานนท์ ผ่านทางเข้าโรงพยาบาลศรีธัญญาถึง บริเวณซอยติวานนท์ 5

5. สถานีแคราย เข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ตั้งอยู่หน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี

6. สถานีศรีพรสวรรค์ อยู่บริเวณซอยรัตนาธิเบศร์ 28

7.สถานีแยกถนนนนทบุรี 1 บริเวณก่อนซอยรัตนาธิเบศร์ 30 ซึ่งสถานีนี้จะมีที่จอดแล้วจร

8.สถานีพระนั่งเกล้า แนววิ่งจะเริ่มเบนออกขวาจากกลางถนนเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีโครงสร้างทางวิ่งขนาน ไปกับสะพานพระนั่งเกล้า จะเป็นสถานีเชื่อมต่อกับการขนส่งทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา

9. สถานีไทรม้า เบี่ยงเข้าสู่กึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ และวิ่งตรงถึงบริเวณหน้าหมู่บ้านซื่อตรง

10. สถานีท่าอิฐ บริเวณก่อนถึงแยกท่าอิฐ

11. สถานีบางรักใหญ่ บริเวณทางเข้าวัดบางรักใหญ่

12. สถานีบางบัวทอง บริเวณก่อนถึงแยกตัดกับถนนบางกรวย - บางบัวทอง

13.สถานีคลองบางแพรก บริเวณคลองบางแพรก

14.สถานีสามแยกบางใหญ่ บริเวณหน้าหมู่บ้านกฤษดานคร 10 ก่อนถึงแยกถนนวงแหวนรอบนอก

15.สถานีตลาดบางใหญ่ เลี้ยวขวาบริเวณทางแยกและวิ่งไปตามแนวกึ่งกลางของถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) ถึงบริเวณโรงพยาบาลเกษมราษฎร์

16. สถานีคลองบางไผ่ (บริเวณคลองบางไผ่) เป็นสถานีสุดท้าย และเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งเป็นอาคารจอดแล้วจร

- จุดที่ตั้งสถานีช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ มีสถานีขึ้น-ลง 18 สถานี ได้แก่

1.สถานี บางโพ
2.สถานี ศรีย่าน
3.สถานี กรมชลฯ
4.สถานี สามเสน
5.สถานี หอสมุดแห่งชาติ
6.สถานี พระสุเมรุ
7.สถานี ราชดำเนิน
8.สถานี เจริญกรุง
9.สถานี วังบูรพา
10.สถานี สะพานพระปกเกล้า
11.สถานี วงเวียนใหญ่
12.สถานี สำเหร่
13.สถานี มไหสวรรค์
14.สถานี จอมทอง
15.สถานี ดาวคะนอง
16.สถานี บางปะกอก
17.สถานี ประชาอุทิศ
18.สถานี ราษฎร์บูรณะ


แผนการก่อสร้าง

- ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ จะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการยื่นข้อเสนอประกวดราคา ประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2548 หลังจากนั้นจะมีการประกาศเชิญชวน และจัดทำข้อเสนอราคาในเดือนมิถุนายน 2548 และจะสามารถประเมินข้อเสนอเจรจาต่อรองขออนุมัติและลงนามในสัญญาได้ภายในเดือนสิงหาคม 2548 จึงสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ โดยใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 32 เดือน โดยจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 2551

-ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2553

ความคืบหน้า

- ช่วงบางชื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบรายละเอียดเส้นทาง และมีแนวเวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกาออกมาแล้ว หลังจากนั้นจะมีการสำรวจรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเขตทางคาดว่าจะใช้เวลา 4 เดือน และจะมีการดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 16 เดือน รฟม. ได้ลงนามสัญญาว่า จ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา AEC ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการ ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินงาน มีความคืบหน้า เช่น งานสำรวจและจัดทำแผนที่แสดง ภูมิประเทศ เขตที่ดิน และสาธารณูปโภค งานออกแบบแนวเส้นทาง งานออกแบบรายละเอียดด้านสถา-ปัตยกรรมและวิศวกรรมของสถานี เป็นต้น ซึ่ง รฟม. และบริษัทที่ปรึกษาจะนำผล การศึกษาต่างๆ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบอย่างต่อเนื่องและมีแผนการดำเนินงานในเรื่องการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและด้านชุมชนสัมพันธ์ ดังนี้

1.การจัดประชุมครั้งที่ 1 เพื่อปฐมนิเทศโครงการ เพื่อเป็นการแนะนำและชี้แจงข้อมูลรายละเอียดโครงการพร้อม ทั้งรับฟังความคิดเห็นต่างๆ โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาประมาณ 100 คน จากส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่จังหวัด นนทบุรีครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอที่แนวเส้นทางโครงการพาดผ่าน ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางใหญ่ และ อำเภอบางบัวทอง ผู้นำส่วนท้องถิ่น ผู้แทนจากภาคเอกชน และสื่อมวลชน ในเดือนมีนาคม 2548 ผลที่ได้จากการประชุม สัมมนาครั้งนี้จะนำมาประมวลวิเคราะห์และสรุปประเด็นข้อคิดเห็น เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการดำเนินการ ศึกษาและออกแบบราย ละเอียดในโครงการให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

2.จัดประชุมสัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 30-40 คน เดือนมีนาคม-เมษายน 2548 เพื่อเป็นการสำรวจทัศนคติ และประชาสัมพันธ์รายละเอียดข้อมูลโครงการ สร้างความเข้าใจและการรับรู้ โดยจะแบ่งการสัมมนากลุ่มย่อยตลอด แนวเส้นทางโครงการออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

- ชุมชนบริเวณย่านสถานีบางซื่อ
- ชุมชนบริเวณ กม . ที่ 17 ถึงสี่แยกแคราย
- กลุ่มผู้แทนจากเทศบาลนครนนทบุรี อบต.ไทรม้า และ อบต.บางรักน้อย
- กลุ่มผู้แทนจาก อบต.บางเลน และเสาธงหิน
- กลุ่มผู้แทนจาก อบต.โสนลอย บางรักใหญ่ บางรักพัฒนา และพิมลราช


3.การประชุมสัมมนาครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นประมาณ เดือนพฤษภาคม 2548 หลังจากที่บริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการแล้วเสร็จ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง มาตรการในการจัดการกับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะและปัญหาต่างๆ โดย จะมีผู้แทนจากส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาคเอกชนและสื่อมวลชนเข้าร่วมประชุมประมาณ 200 คน นอก จากการจัดประชุมสัมมนาดังกล่าวข้างต้นแล้ว รฟม. จะร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจัดนิทรรศการตามหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน เพื่อเผยแพร่รายละเอียดและข้อมูลโครงการสู่สาธารณชนเป็นระยะๆ ตามสถานที่ ดังนี้

- ปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือนเมษายน 2548 จะจัดนิทรรศการในงาน "วัฒนธรรมสองฝั่งเจ้าพระยาใต้ฟ้านนท์ " ซึ่งเป็นกิจกรรมประจำปีของจังหวัดนนทบุรี ที่วัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง นนทบุรี
- งาน " บางใหญ่แฟร์ " ที่ศูนย์ราชการอำเภอบางใหญ่ และตลาดบางใหญ่ซิตี้


- ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กองประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2246 5733, 0-2246 5744 ต่อ 116, 121 โทรสาร 0 2246 2099, 0 2246 3687 www.mrta.co.th

************************************************

5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางกะปิ-บางบำหรุ)


หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)

แนวเส้นทาง : เป็นการพัฒนาระบบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวมระยะทาง 24 กิโลเมตร แยกเป็นช่วงต่างๆ ดังนี้

- ช่วงจากบางกะปิ-สามเสน ระยะทาง 19.8 กิโลเมตร เริ่มต้นบริเวณบางกะปิ เป็นโครงสร้างอุโมงค์ลอดใต้แยกลำสาลี ไปตามแนวถนนรามคำแหง เข้าถนนพระราม 9 ผ่านคลองลาดพร้าว วิ่งต่อเนื่องไปตามถนนดินแดง ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผ่านถนนราชวิถี ไปจนถึงบริเวณสามเสน

- ช่วงจากสามเสน-บางบำหรุ ระยะทาง 4 กิโลเมตร เป็นการต่อขยายเส้นทางที่มาจากบางกะปิ โดยเริ่มจากสามเสน ซึ่ง ยังเป็นโครงสร้างอุโมงค์มุดลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ไปตามแนวสะพานกรุงธน และจะเริ่มปรับเป็นโครงสร้างยกระดับ เมื่อพ้น แนวถนนจรัญสนิทวงศ์ไปแล้ว จากนั้นวิ่งไปตามแนวถนนสิรินธร จนไปเชื่อมกับแนวรถไฟสายใต้ บริเวณสถานีบางบำหรุ

รูปแบบโครงการ :โครงสร้างจะมีทั้งแบบอุโมงค์ใต้ดินและโครงสร้างยกระดับเหนือเกาะ กลางถนน

สถานีขึ้น-ลง : รูปแบบของสถานีจะมีทั้งแบบชานชาลากลางและชานชาลาด้านข้าง ทั้งนี้คาดว่าจะมีที่จอดรถยนต์ (Park and Ride) สำหรับผู้มาใช้บริการที่บริเวณบางกะปิ ซึ่งจากการศึกษาในเบื้องต้นตลอดแนวสาร ทางนี้จะประกอบด้วยจุดขึ้น-ลง ประมาณ 13 สถานี ได้แก่

1.สถานี บางบำหรุ
2.สถานี สิริธร
3.สถานี สะพานกรุงธน
4.สถานี สามเสน (เขาดิน)
5.สถานี อนุสาวรีย์
6.สถานี ดินแดง(ประชาสงเคราะห์)
7.สถานี ศูนย์วัฒนธรรม
8.สถานี ห้วยขวาง
9.สถานี นวศรี
10.สถานี รามคำแหง
11.สถานี สนามกีฬาหัวหมาก
12.สถานี สถานีลำสาลี
13.สถานี บางกะปิ

แผนการก่อสร้าง

-ช่วงบางกะปิ-สามเสน จะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2548 และแล้ว เสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2552

-ช่วงสามเสน-บางบำหรุ จะเริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2549 แล้วเสร็จประมาณ เดือนมีนาคม2553

ความคืบหน้า : คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินงานตามแผนงานต่อไป

************************************************

6.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (รังสิต-มหาชัย)


หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

แนวเส้นทาง เริ่มจากบริเวณสถานีรถไฟรังสิต สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ ยกระดับข้ามแยกยมราช ผ่านแยกกษัตริย์ศึก หัวลำโพง วิ่งออกมาตามแนวถนนพฤฒาราม ผ่านริมคลองผดุงกรุงเกษม และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ ใกล้ศูนย์การค้า ริเวอร์ซิตี้ เพื่อมาเข้าแนวถนนลาดหญ้า และเลี้ยวออกไปบนแนวถนนเจริญรัถ เพื่อหลบอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน จากนั้นวิ่ง ข้ามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเข้าไปตามทางรถไฟสายแม่กลองเดิม แล้วลดระดับลงสู่ระดับดินที่บริเวณ ตลาดพลู และวิ่งตามไปตาม แนวทางรถไฟเดิมจนถึงมหาชัย ระยะทาง 65 กิโลเมตร

รูปแบบโครงการ โครงสร้างยกระดับตามแนวเส้นทางรถไฟเดิมของการรถไฟฯ ที่เปิดดำเนินการเดินรถในปัจจุบัน ทั้งสายเหนือ สายตะวันออก สายใต้ และสายแม่กลอง แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 22.7 กิโลเมตร ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร ช่วงหัวลำโพง-ศูนย์ตากสิน ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร และช่วงศูนย์ตากสิน-มหาชัย ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร

สถานีขึ้น-ลง ในเบื้องต้นได้ทำการออกแบบจุดขึ้น-ลง สถานีตลอดแนวสายทางไว้ทั้งสิ้น 35 สถานี ประกอบด้วย

1. สถานี รังสิต
2. สถานี เมืองเอก
3. สถานี ดอนเมือง
4. สถานี การเคหะ
5. สถานี หลักสี่
6. สถานี นอร์ทปาร์ค
7. สถานี งามวงศ์วาน
8. สถานี ประชานิเวศน์
9. สถานี หมอชิต
10. สถานี ศูนย์พหลโยธิน
11. สถานี กำแพงเพชร
12. สถานี ประดิพัทธิ์
13. สถานี สามเสน
14. สถานี รพ.รามาธิบดี
15. สถานี ยมราช
16. สถานี พญาไท
17. สถานี มหานาค
18. สถานี สนามกีฬา
19.สถานี หัวลำโพง
20.สถานี สามย่าน
21.สถานี ตลาดน้อย
22.สถานี คลองสาน
23.สถานี วงเวียนใหญ่
24.สถานี ตลาดพลู
25.สถานี ท่าพระ
26.สถานี ศูนย์ตากสิน
27.สถานี จอมทอง
28.สถานี วัดสิงห์
29.สถานี บางบอน
30.สถานี รางสะแก
31.สถานี รางโพ
32.สถานี สามแยก
33.สถานี พรหมแดน
34.สถานี มหาชัยเมืองใหม่
35สถานี มหาชัย

แผนการก่อสร้าง

- ช่วงบางซื่อ-รังสิต เริ่มก่อสร้างเดือนกุมถาพันธ์ 2548 แล้วเสร็จประมาณเดือนสิงหาคม 2551

- ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ เริ่มก่อสร้างประมาณเดือนเมษายน 2548 แล้วเสร็จประมาณเดือน ตุลาคม 2551

-ช่วงหัวลำโพง-ศูนย์ตากสิน เริ่มก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2548 แล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน 2552

-ช่วงศูนย์ตากสิน-มหาชัย เริ่มก่อสร้างประมาณเดือนมิถุนายน 2548 แล้วเสร็จประมาณเดือน มิถุนายน 2552

ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียดแนวเส้นทาง

************************************************

7.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ)


หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

แนวเส้นทาง แบ่งออกเป็น 2 ช่วง

- ช่วงจากยมราช-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ เป็นแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกในปัจจุบัน เริ่ม จากบางซื่อ หัวลำโพง ผ่าน แยกกษัตริย์ศึก และเริ่มยกระดับข้ามแยกยมราชวิ่งขนานไปตามแนวถนนเพชรบุรี ผ่านถนนศรีนครินทร์ ถนนกรุงเทพกรีฑา และเริ่มลดระดับลงสู่พื้นดิน ไปจนถึงสถานีลาดกระบัง และยกระดับอีกครั้ง ข้ามถนนอ่อนนุช เพื่อจะเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ จากนั้นลดระดับลงสู่พื้นดินและลง ใต้ดินเพื่อเข้าสู่สนามบิน ระยะทาง 6.1 กิโลเมตร

- ช่วงจากบางซื่อ-ตลิ่งชัน-วงแหวนรอบนอก เป็นแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันตกในปัจจุบัน เริ่มออกจากบางซื่อไปตาม ทางรถไฟเดิม และเริ่มยกระดับเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และจะลดลงสู่ระดับดิน เมื่อข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์แล้ว จากนั้นก็จะ วิ่งระดับดินไปโดยตลอด ระยะทาง 14.9 กิโลเมตร

รูปแบบโครงการ

- ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และ ช่วงบางซื่อ-พญาไท จะเป็นแนวเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถไฟสาย ตะวันตกในปัจจุบัน โดย ระหว่างบริเวณจากบางซื่อ-วงแหวนรอบนอก จะมีจำนวนราง 2 ราง มีเขตทาง กว้างประมาณ 80 เมตร

- ช่วงพญาไท-มักกะสัน-สุวรรรณภูมิ ช่วงนี้จะเป็นแนวเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถไฟสาย ตะวันออกในปัจจุบัน โดย ระหว่างบริเวณยมราช-หัวหมาก จะมีราง 1 รางจากหัวหมาก-ลาดกระบัง มี 3 ราง มีเขตทางกว้างประมาณ 40 เมตร

สถานีขึ้น-ลง : จำนวน 23 สถานี ได้แก่

1.สถานี ตลิ่งชัน
2.สถานี บางบำหรุ
3.สถานี บางพลัด
4.สถานี บางซ่อน
5.สถานี วงศ์สว่าง
6.สถานี หมอชิต
7.สถานี ศูนย์พหลโยธิน
8.สถานี ประดิพัทธ
9.สถานี สามเสน
10.สถานี ร.พ. รามาธิบดี
11.สถานี ยมราช
12.สถานี พญาไท
13.สถานี ราชปรารภ
14.สถานี มักกะสัน
15.สถานี ศูนย์วิจัย
16.สถานี คลองตัน
17.สถานี เสรี
18.สถานี รามคำแหง
19.สถานี หัวหมาก
20.สถานี กรุงเทพกรีฑา
21.สถานี บ้านทับช้าง
22.สถานี ลาดกระบัง
23.สถานี สุวรรณภูมิ

แผนการก่อสร้าง เบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างใน

- ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2548 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้ใช้บริการได้ประมาณเดือนสิงหาคม 2551

- ช่วงบางซื่อ-พญาไท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือน เมษายน 2548 แล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2551

- ช่วงพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน 2548 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้ใช้ บริการได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 มูลค่าการลงทุนรวม 54,111 ล้านบาท

ความคืบหน้า ได้มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Airport Rail Link) กับบริษัท บี.กริม อินเตอร์เน ชั่นแนล จำกัด บริษัท ซีเมนส์ จำกัด บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) คาดว่าจะลงมือก่อสร้างได้ประมาณปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2548

************************************************

8.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-หลักสี่-รามอินทรา-สุวินทวงศ์)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

แนวเส้นทาง เริ่มจากถนนแจ้งวัฒนะบริเวณห้าแยกปากเกร็ด วิ่งไปตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านเมืองทองธานี พหลโยธิน-หลักสี่ เข้าสู่ถนนรามอินทรา ไปมีนบุรี จากนั้นวิ่งเข้าสู่ถนนสุวินทวงศ์ ตัดผ่านถนนสามวา ถนนร่มเกล้า และถนนนิมิตรใหม่ สิ้น สุดที่มีนบุรี และในอนาคตจะมีการขยายเส้นทางเพื่อไปเชื่อมต่อกับโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วย โดยผ่านทางถนนร่มเกล้า เข้าสนามบินสุวรรณภูมิ รวมระยะทาง 41 กิโลเมตร

รูปแบบโครงการ: จะก่อสร้างเป็นโครงสร้างทางยกระดับตลอดแนวสายทางบนเกาะกลางถนน เป็นรถไฟฟ้าขนาดเบาได้ ซึ่ง จะมีค่าใช้จ่ายถูก และสามารถก่อสร้างได้ในเวลาอันรวดเร็ว

สถานีขึ้น-ลง จำนวน 13 สถานี ได้แก่

1. สถานี ปากเกร็ด (อยู่ตรงห้าแยกปากเกร็ด)
2. สถานี เมืองทองธานี (ปากทางเข้าเมืองทองฯ)
3. สถานี แจ้งวัฒนะ (ตรงตัดกับทางด่วน)
4. สถานี ประชาชื่น(จุดตัดถนนแจ้งวัฒนะกับประชาชื่น)
5. สถานี รถไฟหลักสี่
6. สถานี วัดพระศรีมหาธาตุ (อนุสาวรีย์หลักสี่)
7. สถานี ลาดปลาเค้า
8. สถานี วัชรพล
9. สถานี นวมินทร์
10. สถานี บริเวณจุดตัดวงแหวนรอบนอก ด้านตะวันออก
11. สถานี พระยาสุเรนทร์ (ถนนสวนสยาม)
12. สถานี หทัยราษฎร์
13. สถานี นิมิตรใหม่ (มีนบุรี)

แผนการก่อสร้าง โครงการนี้ยังเป็นแนวคิดเบื้องต้น ต้องทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ จากนั้นจึงจะสรุปราย ละเอียดทั้งหมดแล้วนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อขออนุมัติดำเนินการต่อไป ซึ่งจะเร่งดำเนินการ ให้แล้วเสร็จภายใน 6 ปี เช่นเดียวกับโครงข่ายรถไฟฟ้า 7 สายก่อนหน้านี้

ความคืบหน้า อยู่ระหว่างทำการศึกษาในรายละเอียดความเหมาะสม แนวเส้นทางที่ชัดเจน จำนวนผู้โดยสารที่แน่นอน ความ เหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ ราคาค่าก่อสร้างที่แน่ชัด ระบบการเดินรถที่จะต้องใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บท โดยรวมที่ มีอยู่แล้ว

************************************************

9.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-รัชดาภิเษก-บางกะปิ- ศรีนครินทร์-เทพารักษ์-สำโรง)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)

แนวเส้นทาง เริ่มจากสำโรง บริเวณจุดตัดระหว่างถนนสุขุมวิทกับถนนเทพารักษ์ (จุดตัดกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่จะต่อขยายเพิ่ม เติม) มาตามแนวถนนเทพารักษ์ เลี้ยวเข้าถนนศรีนครินทร์ มาตามแนวถนนศรีนครินทร์ ตัดผ่านถนนบางนา-ตราด อ่อนนุช-ลาด กระบัง (สุขุมวิท 77) ถนนพัฒนาการ ผ่านบริเวณแยกลำลาสี บางกะปิ มุ่งหน้าเข้าสู่ถนนลาดพร้าว มาตามแนวถนนลาดพร้าว สิ้นสุดที่บริเวณถนนลาดพร้าวตัดกับถนนรัชดาภิเษก (สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน) รวมระยะทาง 32 กิโลเมตร

รูปแบบโครงการ เส้นนี้จะเป็นโครงสร้างใต้ดินในช่วงถนนลาดพร้าว หลังจากนั้นจะเป็นทางยกระดับบนเกาะกลาง ถนนในเส้นทางส่วนที่เหลือ

สถานีขึ้น-ลง จำนวน 18 สถานี ได้แก่

1. สถานี สำโรง (บริเวณจุดตัดระหว่างถนนสุขุมวิทกับถนนเทพารักษ์)
2. สถานี บริเวณจุดตัดถนนเทพารักษ์กับถนนศรีนครินทร์
3. สถานี กึงกลางระหว่างถนนเทพารักษ์กับถนนบางนา-ตราด (ก่อนถึงซอยลาซาล)
4. สถานี จุดตัดกับถนนศรีนครินทร์กับถนนบางนา-ตราด
5. สถานี บริเวณปากซอยอุดมสุข (สุขุมวิท 103)
6. สถาน บริเวณปากซอยสุขุมวิท 101
7. สถานี บริเวณจุดตัดกับถนนสุขุมวิท 77 (อ่อนนุช-ลาดกระบัง)
8. สถานี บริเวณจุดตัดกับมอเตอร์เวย์ ใกล้กับถนนพัฒนาการ
9. สถานี บริเวณจุดตัดกับถนนกรุงเทพกรีฑา
10. สถานี ก่อนถึงแยกลำสาลี
11. สถาน บางกะปิ
12. สถานี ซอยลาดพร้าว 122
13. สถานี ลาดพร้าว 101
14. สถานี ลาดพร้าว 81 (บิ๊กซี)
15. สถานี ลาดพร้าว 71
16. สถานี ซอยโชคชัย 4
17. สถานี ซอยลาดพร้าว 48
18. สถานี ลาดพร้าวตัดกับรัชดาภิเษก (รถไฟฟ้าใต้ดิน)

แผนการก่อสร้าง โครงการนี้ยังเป็นแนวคิดเบื้องต้น ต้องทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ จากนั้นจึงจะสรุปรายละ เอียด ทั้งหมดแล้วนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อขออนุมัติดำเนินการต่อไป ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้ แล้วเสร็จภายใน 6 ปี เช่นเดียวกับโครงข่ายรถไฟฟ้า 7 สายก่อนหน้านี้

ความคืบหน้า อยู่ระหว่างทำการศึกษาในรายละเอียดความเหมาะสม แนวเส้นทางที่ชัดเจน จำนวนผู้โดยสารที่แน่นอน ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ ราคาค่าก่อสร้างที่แน่ชัด ระบบการเดินรถที่จะต้องใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทโดย รวม ที่มีอยู่แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น