วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ภาวะการเงินในตลาดธนาคาร ที่โครงการสิวารัตน์ คำนึงตลอด 2554( ในกรณีศึกษาEnron 2001)

เมื่อเอ่ยถึงกิจการที่สะเทือนวงการนักวิเคราะห์ของโลกต้องถือว่ากรณีของ Enron และ WorldCom ยังคงเป็นกรณีสะเทือนขวัญสูงสุด เพราะช่วงต้นปี 2001 Enron เป็นกิจการที่ผู้คนกล่าวถึงในฐานะของกิจการ

แต่ไม่ถึงปีหลังจากนั้น Enron กลับประกาศล้มละลาย หุ้นตกลงจนแทบไม่มีค่า ทำความเสียหายให้แก่นักลงทุนเป็นพันล้านดอลลาร์ ความเปลี่ยนแปลงพลิกผันแบบเฉียบพลันนี้สร้างความประหลาดใจให้แก่นักวิเคราะห์ระดับเซียนทั้งหลายอย่างมากมาย จากกิจการที่ไม่มีท่าทีจะมีปัญหาและแนวโน้มระยะยาวจะดีจากการวิเคราะห์งบการเงิน แต่สถานการณ์พลิกตาลปัตรเมื่อ ซีอีโอ คนเดิมลาออกแบบไร้ความคาดหมายในเดือน สิงหาคม 2001 ทำให้ราคาหุ้นลดลง และเพียง 2 เดือนหลังจากนั้น บริษัทประกาศผลขาดทุนถึง 638 ล้านดอลลาร์ และลดลงถึง 1,200 ล้านดอลลาร์

จุดที่สร้างความเปลี่ยนแปลงมาจากหลายสาเหตุและสาเหตุหนึ่ง คือ ผู้บริหารถูกว่าจ้างด้วยเงื่อนไขที่จ่ายเงินเดือน โบนัสและกำไรจากการให้หุ้นถึง 750 ล้านดอลลาร์

การล้มละลายของ Enron นำมาสู่การตำหนิและวิจารณ์การทำงานของผู้ตรวจสอบบัญชีบริษัท คือ อาร์เธอร์ แอนเดอร์สัน และบรรดานักวิเคราะห์ในตลาดวอลล์สตรีทที่แนะนำว่าหุ้นของบริษัทนี้ดีแสนดีมาหลายปีโดยมีการวิจารณ์ว่าบุคคล 2 กลุ่มนี้ไร้ความรับผิดชอบ

ในปีเดียวกัน กิจการอีกราย คือ WorldCom ก็เจอกรณีการแต่บัญชีและสร้างกำไรตลอดจนกระแสเงินสดกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์ และล้มละลายในเวลาต่อมาด้วยความเสียหายนับพันล้านดอลลาร์ เช่นกันและที่สำคัญทั้ง 2 บริษัทใช้ผู้ตรวจสอบบัญชีรายเดียวกัน คือ อาเธอร์ แอนเดอร์สัน ซึ่งในเวลาต่อมาก็ต้องเลิกกิจการเช่นกัน ทำให้พนักงานกว่า 700,000 คนตกงาน ซึ่งนอกจากอาเธอร์ แอนเดอร์สัน แล้วยังมีกิจการวานิธนกิจ อีก 2 รายคือ Citigroup และ Solomon Smith Barney ที่เข้าไปพัวพันกับบริษัททั้งสอง และได้รายได้จากการรับประกันการจำหน่ายและขายหุ้นให้แก่บริษัททั้งสองจำนวนมหาศาล

กรณีของ Enron และ WorldCom ทำให้เกิดกฎหมายฉบับใหม่ในสหรัฐที่เพิ่มความรับผิดชอบของ CEO และ CFO ของกิจการในส่วนที่เป็นความถูกต้อง และครบถ้วนของรายการในงบการเงิน เพื่อจะได้ไม่สร้างความเข้าใจผิดแก่นักลงทุน และเกิดความพยายามในกาปรับปรุงการรายงานงบการเงินให้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

ในการใช้งานงบการเงิน ผู้ใช้ต้องการให้งบการเงินสามารถบ่งชี้

- ความมั่นคงหรือแนวโน้มปัญหาในระยะสั้น

- พยากรณ์การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

- การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายสำคัญ เช่น นโยบายด้านเครดิตสินค้าคงเหลือ

- การขยายการลงทุนต่อผลการดำเนินงานของกิจการ

ข้อมูลสำคัญในงบการเงินที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ คือ การบริหารทางการเงินซึ่งมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มความมั่งคั่งแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว ไม่ใช่เพียงสร้างรายได้สุทธิหรือ Earnings Per Share เท่านั้น แม้ว่าข้อมูลทางบัญชีจะมีผลกระทบและมีอิทธิพลต่อราคาหุ้น และใช้ความเข้าใจกับผลประกอบการและวิธีดำเนินงานของกิจการ และที่สำคัญที่สุดคือ ความสามารถในการพยากรณ์ไปข้างหน้า

Ratio Analysis

อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ออกแบบมาเพื่อช่วยในการประเมินสถานะทางการเงินแบบหนึ่ง ที่นำเอาตัวเลข 2 ตัวเลขมาพิจารณาเป็นอัตราส่วน

อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้แก่

1. Liquidity Ratios

เป็นการพิจารณาสินทรัพย์สภาพคล่องเปรียบเทียบกับหนี้สินสภาพคล่อง กรณีที่กิจการเริ่มมีปัญหา อัตราส่วน Liquidity Ratios จะส่งสัญญาณก่อนอัตราส่วนอื่นๆ

2. Asset Management Ratios

เป็นเครื่องวัดประสิทธิผลในการบริหารสินทรัพย์ โดยพิจารณา

- จำนวนหรือมูลค่าของสินทรัพย์แต่ละประเภทเหมาะสมหรือไม่ เทียบกับยอดจำหน่ายที่ได้

- มีสินทรัพย์ที่ต้องใช้แหล่งเงินกู้เพื่อให้ได้มาแต่สร้างผลตอบแทนไม่คุ้มค่าหรือไม่

- สินทรัพย์ที่มีอยู่ต่ำหรือน้อยเกินไปจนไม่สามารถสร้างรายได้ดีขึ้น หรือไม่

ปัจจัยที่ใช้พิจารณา คือ ยอดจำหน่าย สินค้าคงเหลือ ลูกหนี้การค้า และสินทรัพย์

3. Debt Management Ratios

ในกรณีที่กิจการใช้แหล่งเงินกู้ในการดำเนินงานด้วย (Financial Leverage หรือ Debt Financing)

ปัจจัยที่ใช้พิจารณา คือ ยอดหนี้เทียบกับสินทรัพย์ EBIT หรือ EBITDA เทียบกับภาระดอกเบี้ยจ่าย เงินต้น ผ่อนชำระและค่าเช่าแบบลิสซิ่ง

4. Debt Management Ratios

ในขณะที่ Liquidity, Asset Management และ Debt Ratios เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่บ่งชี้เกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของกิจการ Profitability Ratios จะช่วยบ่งชี้นโยบายทางการเงินและการตัดสินใจด้านการดำเนินงาน เช่น

- Profit Margin on Sales พิจารณาอัตราส่วนของกำไรต่อยอดขาย

- Return on Total Asset พิจารณาอัตราส่วนของกำไรต่อยอดขาย

- Return on Equity

5. Market Values Ratios

เป็นการพิจารณาราคาหุ้นของกิจการเทียบกับผลตอบแทนจากการดำเนินงาน (Earnings) เทียบกับกระแสเงินสด และ book value per share เพื่อช่วยชี้นำผู้บริหารให้เข้าใจว่า ณ ขณะนั้น นักลงทุนมองความเสี่ยงและแนวโน้มของกิจการอย่างไร

ในกรณีที่ Liquidity, Asset Management, Debt Management, Profitability Ratios ออมาดูดี และทรงตัวในระยะยาวแสดงถึงเสถียรภาพของอัตราส่วนและการดำเนินงานย่อมจะส่งผลให้ Market Value Ratios ออกมาสูงตามไปด้วย และอาจจะส่งผลต่อราคาหุ้นในทางเพิ่มขึ้นด้วย

อัตราส่วนที่ใช้ในด้านนี้ ได้แก่

- Price / Earnings Ratio

- Price / Cash Flow Ratio โดย Cash Flow มาจาก Net Income + Depreciation + Amortization หารด้วย หุ้นสามารถที่ออกจำหน่าย

- Market / Book Ratio

6. Trend Analysis

เป็นการวิเคราะห์แนวโน้มของอัตราส่วนแทนที่จะมองเพียงค่าของอัตราส่วนเดี่ยวๆ เพื่อบ่งชี้ว่าแนวโน้มการดำเนินงานของกิจการดีขึ้นหรือแย่ลง โดยเอาอัตราส่วนในแต่ละช่วงเวลาเพื่อพิจารณาว่าแนวโน้มเป็นอย่างไรในอัตราส่วนที่สำคัญๆ

ปัจจัยที่ใช้พิจารณา คือ ยอดจำหน่าย สินค้าคงเหลือ ลูกหนี้การค้า และสินทรัพย์

7. Du Pont Equation

เป็นการนำเอาอัตราส่วนที่สำคัญๆ มาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้ได้มิติของอัตราส่วนใหม่ๆ ออกไป เช่น

ROA = Profit Margin x Total Assets Turnover

= Net Income x Sales
Sales Total Assets

ROE = ROA x Equity Multiplier

Net Income x Total Assets

Total Asset Common Equity

= Profit margin x Total Asset Turnover x Equity Multiplier

8. Comparative Ratios และ Benchmarking

การพิจารณาด้วยอัตราส่วนเป็นการพิจารณาตัวเลขผลการดำเนินงานในเชิงเปรียบเทียบ อาจจะเป็นการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีตของกิจการ ผลการดำเนินงานในแต่ละหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ของบริษัทเดียวกัน หรืออาจจะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม หรือ บริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเรียกเทคนิคนี้ว่า “benchmarking”

การค้าหาสัญญาณเตือนในงบการเงิน

กรณีการสร้างรายการทางบัญชีของ Enron ทำให้เกิดการตื่นตัวในการมองรายละเอียดของงบการเงินและวิธีการบันทึกบัญชีด้วยมุมใหม่ โดยเฉพาะบรรดานักลงทุนที่พยายามค้นหามุมมองของปัญหาในงบการเงิน และหาทางปักธงแดงบนรายการบางรายการในงบการเงินเพื่อให้เห็นสถานะของความเสี่ยงของกิจการที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างของรายการที่ได้รับความสนใจจากนักวิเคราะห์เพิ่มขึ้น

(1) ต้นทุนที่เกิดจากการปรับโครงสร้างธุรกิจ เช่น การลดอัตรากำลัง

(2) รายได้ที่เกิดจากการซื้อกิจการอื่นๆ ที่มี P/E Ratio สูงกว่ากิจการที่ถูกซื้อ

(3) การตัดค่าเสื่อมราคาในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของอุตสาหกรรม

(4) กิจการที่มียอดรายรับสูง แต่มีกระแสเงินสดไหลเข้าสุทธิต่ำมากผิดปกติ อาจจะสะท้อนรายการลูกหนี้การค้าที่ไม่มีโอกาสเกิดเป็นเงินสดจริง ซึ่งกรณีนี้เป็นสถานการณ์ของ Enron

(5) ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วยอดการจำหน่ายหรือรายได้จากการดำเนินงาน

(6) การเข้าไปซื้อกิจการอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของกิจการ

ข้อจำกัดของการวิเคราะห์ด้วย Ratios

การใช้อัตราส่วน (Ratios) มักจะได้รับความนิยมในบุคคล 3 กลุ่ม คือ

(1) ผู้จัดการ ใช้อัตราส่วนในการวิเคราะห์ ควบคุม และปรับปรุงผลการดำเนินงานของกิจการ

(2) นักวิเคราะห์เครดิต โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อธนาคารและนักวิเคราะห์เพื่อจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตของตราสารหนี้

(3) นักวิเคราะห์หุ้น เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ความเสี่ยงและแนวโน้มการเติบโตของกิจการ

อย่างไรก็ดี อัตราส่วนอาจจะไม่เหมาะสมในการใช้งานในหลายกรณี เนื่องจากมีข้อจำกัดของวิธีการแบบนี้ ซึ่งผู้นำเอาไปใช้งานควรจะระมัดระวังและวิเคราะห์ด้วยความรอบคอบ ข้อจำกัดที่สำคัญในการใช้ประโยชน์จากแนวคิดของการวิเคราะห์ด้วยอัตราส่วนได้แก่

1.บริษัทที่มีขนาดใหญ่มากและมีโครงสร้างธุรกิจหลายประเภทที่ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่ในกิจการเดียวกัน การนำเอาตัวเลขโดยรวมของทั้งบริษัทมาคำนวณอัตราส่วนอาจจะไม่มีความหมายเพราะเกิดจากองค์ประกอบของไลน์ธุรกิจหลายด้านประกอบกัน

ด้วยเหตุนี้ การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินจึงมักจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์บริษัทที่มีขนาดเล็ก และขอบเขตธุรกิจจำกัดอยู่เฉพาะด้านมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทข้ามชาติ

2.หลายบริษัทคิดว่าหากอัตราส่วนออกมาแล้วดีกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรมก็ถือว่าดีแล้ว แต่การที่อัตราส่วนออกมาดีกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอาจจะไม่ได้หมายความว่า กิจการนั้นดีกว่ากิจการอื่นๆ ที่จริงการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

3.อัตราเงินเฟ้อมีส่วนในการบิดเบือนตัวเลขหรือมูลค่าของรายการในงบการเงิน ทำให้มูลค่าตามงบการเงินไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง (True Values) ของกิจการ โดยอัตราเงินเฟ้อกระทบต่อค่าเสื่อมราคา ต้นทุนสินค้าคงคลัง กำไรของกิจการด้วย ในการพิจารณาผลการดำเนินงานของกิจการใดๆ ในช่วงเวลาที่ยาวต่อเนื่องอาจจะต้องนำเอาอัตราเงินเฟ้อมาร่วมพิจารณาด้วย

4.ปัจจัยของฤดูกาล ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งผู้ที่ทำการวิเคราะห์อาจจะต้องอาศัยการหาค่าเฉลี่ยตามวงจรของฤดูกาลเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ส่วนของรายได้อย่างครบถ้วน

5.การใช้มาตรฐานและวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่แตกต่างกันอาจจะบิดเบือนหากนำเอามาเปรียบเทียบกันด้วยอัตราส่วนโดยตรง เช่น การบันทึกสินค้าคงคลัง หรือวิธีการตัดค่าเสื่อมราคา หรือการใช้วิธีเช่าซื้อในจำนวนสูงจะทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ของกิจการต่ำกว่าความเป็นจริง เทียบกับกิจการที่ใช้สินทรัพย์แบบเดียวกัน แต่ไม่ได้เช่าซื้อและใช้การจัดซื้อโดยตรง

6.ในบางสถานการณ์การระบุบทสรุปว่า อัตราส่วนลักษณะใดที่ถือว่าดีและลักษณะใดที่ถือว่าไม่ดีก็ไม่อาจจะกระทำได้แบบชัดเจน เช่น สภาพคล่องที่สูงมากอาจจะมองว่าดีในด้านสภาพคล่องแต่ถ้ามากเกินไปก็แสดงถึงการมีสินทรัพย์ที่ไม่ทำรายได้สูงด้วย หรือการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวรที่สูงอาจจะสะท้อนว่าการใช้สินทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรืออาจจะมองว่ากิจการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อยไปก็ได้

7.เป็นไปได้ยากที่จะมีกิจการใดมีอัตราส่วนทางการเงินดีทั้งหมด หรือ แย่ทั้งหมด ส่วนใหญ่มักจะมีอัตราส่วนทางการเงินที่ดีบ้าง แย่บ้าง ผสมกันไป จึงยากที่จะบอกได้ว่าโดยภาพรวมแล้วกิจการดีหรือไม่ดี ยกเว้นจะกำหนดน้ำหนักความสำคัญของสัดส่วนทางการใดมากกว่าอัตราส่วนอื่นๆ

การนำเอาอัตราส่วนทางการเงินมาใช้โดยไม่ตีความอย่างรอบคอบจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งเพราะอาจจะทำให้การประเมินผลประกอบการและสถานะทางการเงินของกิจการผิดพลาดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น