วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ผู้นำ ยุคไร้พรมแดน สมัยใหม่ 2554 ดร.สมัย เหมมั่น
ผู้นำยุคไร้พรมแดน ที่กล้าคิด กล้าทำงาน กล้าสร้างนวัตกรรมใหม่
ความหมายและคุณสมบัติของผู้นำ
ลักษณะภาวะผู้นำ
คุณลักษณะของผู้นำ
ภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษและภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป
ประสิทธิผลของพฤติกรรมและทัศนคติของผู้นำ
รูปแบบของภาวะผู้นำแบบคลาสสิก
รูปแบบของภาวะผู้นำแบบคลาสสิก
อำนาจ การเมือง และภาวะผู้นำ
การพัฒนาทีมงาน
การพัฒนาภาวะผู้นำ
การบริหารองค์กร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม
คุณประโยชน์ของทีมงาน
รูปแบบการทำงานเป็นทีม
นโยบายและวัตถุประสงค์ของกิจกรรมนักศึกษา
ความหมายและคุณสมบัติของผู้นำ
ความแตกต่างระหว่างการเป็นผู้นำกับการเป็นหัวหน้า หัวหน้า คือ ตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ตามกฎบริษัท แต่ ภาวะผู้นำเป็นลักษณะในตัวบุคคลที่ทำให้ผู้อื่นยอมรับนับถือ.. คุณสมบัติของผู้นำตามอักษรแต่ละตัวในคำว่า LEADERSHIP มีความหมายบ่งชี้ถึงลักษณะต่างๆ ของผู้นำที่ดี ดังนี้
1. L คือ Listen เป็นผู้ฟังที่ดี..
2. E คือ Explain สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เข้าใจได้..
3. A คือ Assist ช่วยเหลือเมื่อควรช่วย…
4. D คือ Discuss รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น..
5. E คือ Evaluation ประเมินผลการปฏิบัติงาน..
6. R คือ Response แจ้งข้อมูลตอบกลับ…
7. S คือ Salute ทักทายปราศรัย...
8. H คือ Health มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ..
9. I คือ Inspire รู้จักกระตุ้นและให้กำลังใจลูกน้อง..
10. P คือ Patient มีความอดทนเป็นเลิศนั่นเอง..
ลักษณะภาวะผู้นำ
1. ความหมาย ลักษณะของผู้นำและภาวะผู้นำ
ความหมายของภาวะผู้นำ ( Leadership ) มีดังนี้
1.1 พฤติกรรมส่วนตัวของบุคคลคนหนึ่งที่จะชักนำกิจกรรมของกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
1.2 เป็นความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลระหว่างผู้นำ และผู้ตาม ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน
1.3 เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์การ
2. ปัจจัยที่ผู้นำจะต้องเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อิทธิพล, ความตั้งใจ, ความรับผิดชอบ, การเปลี่ยนแปลง, มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน และมีการจูงใจให้ปฎิบัติตาม
3. บทบาทและภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำที่ดีขององค์การ ควรมีลักษณะดังนี้
o เป็นตัวแทนในทุกสถานการณ์
o เป็นนักพูดที่ดี
o เป็นนักเจรจาต่อรอง
o การสอนงาน
o เป็นผู้สามารถสร้างทีมงานได้
o แสดงบทบาทการทำงานเป็นทีม
o สามารถแก้ปัญหาด้านเทคนิคได้
o การประกอบการ
4. การบริหารจัดการและภาวะผู้นำ ( Management ) เป็นกระบวนการนำเสนอทรัพยากรการบริหารมาใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามขั้นตอนการบริหาร ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ
4.1 การวางแผน ( Planning ) การกำหนดวัตถุประสงค์, การตัดสินใจ, การวางแผน
4.2 การจัดองค์การ ( Organizing ) การรวบรวมทรัพยากร, การจัดหาคนเข้าทำงาน, การจัดโครงสร้าง
4.3 การนำ ( Leading ) การจูงใจ, การมีอิทธิพลและการติดต่อสื่อสาร
4.4 การควบคุม ( Controlling ) การตรวจสอบ, การบริการสินค้า, กระบวนการ และการควบคุมคุณภาพ
คุณลักษณะของผู้นำ
1. คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพของผู้นำที่มีประสิทธิผล มีลักษณะดังนี้
1. เป็นบุคคลที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้า และบรรลุผลสำเร็จ
2. เป็นผู้ที่มีบทบาทที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา
3. การจูงใจผู้อื่นให้ปฎิบัติตาม การติดต่อสื่อสาร และมีอิทธิพลเหนือผู้ใต้บังคับบัญชาตามอำนาจหน้าที่ของการบริหารที่ดำรงตำแหน่งอยู่
4. ผู้นำมีส่วนทำให้เกิดวิสัยทัศน์ขององค์การและของพนักงาน ซึ่งรวมถึงผู้นำที่สามารถใช้อำนาจ อิทธิพลต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อนำกลุ่มประกอบกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งด้วย
5. ผู้นำยังเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มให้ปฎิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
2. แรงจูงใจของภาวะผู้นำ ( Leadership motives ) เป็นความจำเป็น , ความต้องการ, แรงกระตุ้น, ความปรารถนา หรือสภาพภายในของบุคคล ซึ่งมีพลังกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่จะบรรลุเป้าหมาย ผู้นำที่มีประสิทธิผลมักแสดงลักษณะเด่นด้านแรงจูงใจ ซึ่งมีพลังกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่จะตอบสนองความต้องการด้านการยอมรับ การยกย่อง และความต้องการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต แรงจูงใจที่เกี่ยวข้องกับงานมีดังนี้
2.1 แรงจูงใจด้านอำนาจ ( The power motive )
2.2 แรงกระตุ้นและแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความสำเร็จ ( Drive and achievement motive )
2.3 ยึดมั่นในจริยธรรมการทำงาน ( Strong work ethic )
2.4 ความมุ่งมั่น ( Tenacity )
3. ปัจจัยด้านสติปัญญาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจและภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการด้านสติปัญญาในการรวบรวมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ความสามารถด้านสติปัญญาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จของภาวะผู้นำ ผู้นำจำเป็นต้องมีระดับสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดเพราะจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และมีความสามารถที่จะแสวงหาข้อมูลที่จำเป็น
3.1 ทฤษฎีความสามารถด้านสติปัญญาและทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ เป็นทฤษฎีที่ช่วยสนับสนุนและพัฒนาภาวะผู้นำให้เกิดความสามารถด้านสติปัญญาและความรู้ความเข้าใจในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล ทฤษฎีความเข้าใจ มีสมมติฐานที่เป็นพื้นฐานสำคัญ 2 ประการคือ ผู้นำที่มีระดับสติปัญญาและมีความสามารถสูงกว่า มีแผนงาน มีการตัดสินใจและมีกลยุทธ์ดีกว่าผู้นำที่มีระดับสติปัญญาและความสามารถต่ำกว่า , ผู้นำกลุ่มงาน จะสื่อสารแผนงาน มีการตัดสินใจ และมีกลยุทธ์การปฎิบัติงานเริ่มแรกในรูปของพฤติกรรมแบบบงการ
3.2 ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ จะขึ้นอยู่กับสมมติฐานซึ่งมุ่งที่ความสามารถด้านสติปัญญาดังนี้
3.2.1 ถ้าผู้นำเน้นประสบการณ์ จะทำให้ความสามารถและสติปัญญาของเขาหันเหไปจากงานที่มีอยู่ ซึ่งเป็นผลให้การวัดระดับสติปัญญาและความสามารถของผู้นำจะไม่สัมพันธ์กับการทำงานกลุ่ม
3.2.2 ความสามารถด้านสติปัญญา ของผู้นำแบบบงการ จะสัมพันธ์อย่างสูงกับผลการปฎิบัติงานของกลุ่มมากกว่าความสามารรถด้านสติปัญญามากกว่าผู้นำที่ไม่ใช่แบบบงการ
3.2.3 ความสามารถด้านสติปัญญาของผู้นำจะสัมพันธ์กับผลการปฎิบัติงานของกลุ่มซึ่งจะต้องใช้ความสามารถด้านสติปัญญาด้วย
ภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษและภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป
1. ทฤษฎีภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษของ House พอสรุปได้ดังนี้
1.1 ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความไว้วางใจในการกระทำที่ถูกต้องของผู้นำ
1.2 ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเชื่อถือในผู้นำ
1.3 ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับการกระทำของผู้นำ
1.4 ผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่มีการพูดให้ร้ายต่อผู้นำเพราะมีความชอบในตัวผู้นำ
1.5 ผู้ใต้บังคับบัญชาจะอยู่ในโอวาทเชื่อฟัง
1.6 ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดการเอาอย่างผู้นำ
1.7 ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีอารมณ์อยากทำงานร่วมกับกลุ่ม
1.8 ผู้ใต้บังคับบัญชาปฎิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายในระดับสูง
1.9 ผู้ใต้บังคับบัญชาอุทิศตนเพื่อความสำเร็จในงานหรือกลุ่ม หรือรับรู้ที่จะช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุภารกิจ
2. ชนิดของผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดคือ
2.1 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษด้านสังคม
2.2 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษซึ่งมุ่งที่ตนเอง
2.3 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษด้านการควบคุมสำนักงาน
2.4 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัว
2.5 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษด้านพรสวรรค์
3. ลักษณะของผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ
3.1 เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์
3.2 เป็นผู้มีความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร
3.3 เป็นผู้ที่มีความสามารถก่อให้เกิดความไว้วางใจ
3.4 เป็นผู้ที่สามารถทำให้สมาชิกของกลุ่มรู้สึกว่าเขามีความสามารถ
3.5 เป็นผู้ที่มีพลังและมุ่งที่การปฎิบัติให้บรรลุผล
3.6 เป็นผู้ที่มีการแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและมีความเอื้ออาทรหรือให้ความอบอุ่นกับผู้อื่น
3.7 เป็นผู้ที่ชอบที่จะเสี่ยง
3.8 เป็นผู้ที่ใช้กลยุทธ์ใหม่ที่มีลักษณะโดดเด่น ( ไม่ทำตามแบบดั้งเดิม )
3.9 เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ส่งเสริมตนเอง
3.10 เป็นผู้ที่พยายามที่จะมีความขัดแย้งภายในให้น้อยที่สุด
4. ทฤษฎีว่าด้วยภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป มีดังนี้
4.1 ทฤษฎีว่าด้วยภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของ Burn
4.2 ทฤษฎีว่าด้วยภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของ Bass
4.3 การวิจัยค้นคว้าของ Tichy Devanna
ประสิทธิผลของพฤติกรรมและทัศนคติของผู้นำ
1. ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมในการปฎิบัติงาน เป็นผู้นำที่ใช้หลักการเข้าร่วมปรึกษาหารือในกลุ่มแทนที่จะเป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคน ซึ่งประกอบด้วย
1.1 การตัดสินใจแบบเผด็จการ
1.2 การปรึกษาหารือ
1.3 การตัดสินใจร่วมกัน
1.4 การมอบหมายงาน
2. ทฤษฎีสากลว่าด้วยประสิทธิผลของพฤติกรรมผู้นำ เป็นการศึกษาทฤษฎีที่สำคัญ 2 ประการคือ ทฤษฎีภาวะผู้นำที่มุ่ง ( Task oriented ) และทฤษฎีภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมในการปฎิบัติ
3. ภาวะผู้นำที่ดีเลิศ ( Superleadership ) เป็นภาวะผู้นำที่กล้าเสี่ยง โดยเปิดโอกาสให้บุคคลนำตนเองได้พนักงานจะสามารถเพิ่มโอกาสในการปฏิบัติงานได้ดีมากขึ้น
วิธีการที่บุคคลควรฝึกฝนการมีภาวะผู้นำในตนเองควรกระทำดังนี้
1. ระบุและแก้ไขความเชื่อและข้อสมมติที่ไม่ดี
2. การเจรจาในทางสร้างสรรค์และเป็นบวก
3. หาวิธีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล
รูปแบบของภาวะผู้นำแบบคลาสสิก
1. ลำดับความต่อเนื่องของภาวะผู้นำ : รูปแบบของภาวะผู้นำแบบคลาสสิก
เป็นการศึกษาถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างพฤติกรรมของผู้นำ 2 รูปแบบคือ
1. ภาวะผู้นำที่มุ่งที่หัวหน้าเป็นศูนย์กลาง เปรียบเทียบกับผู้นำที่มุ่งพนักงานเป็นศูนย์กลาง
2. ลำดับความต่อเนื่องของภาวะผู้นำแบบเผด็จการ, แบบมีส่วนร่วมและแบบให้เสรีภาพ
2. ตารางการเป็นผู้นำ หรือตารางการบริหาร เป็นตารางการบริหารซึ่งใช้เป็นกรอบงานที่เกี่ยวข้องกับมุมมองของผู้นำที่มีต่องานและต่อพนักงาน และยังเป็นระบบที่ทำให้เกิดความเข้าใจสำหรับการฝึกอบรมผู้นำและการพัฒนาองค์การ กรอบงานจะเกี่ยวข้องกับมุมมองของผู้นำ ดังนี้
2.1 การมุ่งงาน (Concern for results หรือ Task orientation ) เป็นภาวะผู้นำที่มุ่งที่การเพิ่มผลผลิต
2.2 การมุ่งที่พนักงาน ( Concern for people ) เป็นภาวะผู้นำที่มุ่งที่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน
3. รูปแบบของภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการมีลักษณะดังนี้
1. มีแรงจูงใจที่จะประสบความสำเร็จสูง และเผชิญความเสี่ยงอย่างมีเหตุผล
2. การมีความกระตือรือร้น และการสร้างสรรค์สูง
3. มีแนวโน้มที่จะตอบสนองอย่างรวดเร็วเมื่อมีโอกาส
4. เร่งรีบเป็นประจำ
5. มองเหตุการณ์ล่วงหน้าอย่างมีวิสัยทัศน์
6. ไม่ชอบงานที่มีลำดับขั้นตอนและระบบราชการ
7. ชอบที่จะพบกับลูกค้า
ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์
1. รูปแบบของภาวะผู้นำ ( Leadership style ) เป็นรูปแบบพฤติกรรมของผู้นำที่กำหนดขึ้นเพื่อนำสมาชิกขององค์การให้เป็นไปตามการบังคับบัญชาที่เหมาะสม ในทฤษฎีของ Fiedler มี 2 ประการดังนี้
1. การศึกษารูปแบบของผู้นำที่ความสัมพันธ์ เป็นผู้นำที่มุ่งความเกี่ยวข้องกับพนักงาน ผู้นำประเภทนี้จะสร้างความไว้วางใจ ความเคารพนับถือและรับฟังความต้องการของพนักงาน จะมีลักษณะเหมือนกับผู้นำแบบที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก
2. ผู้นำที่มุ่งงาน เป็นผู้นำที่มุ่งความสำเร็จในงาน จะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีลักษณะคล้ายกับผู้นำแบบที่เริ่มต้นจากตนเองเป็นหลัก
2. ลักษณะสำคัญของทฤษฎีเส้นทางสู่เป้าหมาย คือ ผู้บริหารควรเลือกรูปแบบของภาวะผู้นำซึ่งนำไปสู่การกำหนดลักษณะของพนักงานและความต้องการในงาน ซึ่งทฤษฎีนี้มีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ
1. ความเหมาะสมระหว่างรูปแบบของภาวะผู้นำในสถานการณ์ต่าง ๆ
2. วิธีการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผลการปฎิบัติงานของพนักงาน
3. ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ในการบริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับสูงสามารถสร้างภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ได้ 5 แนวคิดดังนี้
1. แนวคิดเชิงกลยุทธ์
2. แนวคิดด้านมนุษย์เป็นสินทรัพย์
3. แนวคิดความเชี่ยวชาญ
4. แนวคิดการสกัดกั้น
5. แนวคิดด้านตัวแทนการเปลี่ยนแปลง
อำนาจ การเมือง และภาวะผู้นำ
1. แหล่งและประเภทของอำนาจของภาวะผู้นำ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. อำนาจตามตำแหน่งงาน
2. อำนาจส่วนบุคคล
3. อำนาจที่มาจากการเป็นเจ้าของ
4. อำนาจจากการจัดสรรทรัพยากร
5. อำนาจที่เกิดจากความสามารถในการแสวงหาโอกาส
6. อำนาจที่มาจากการจัดการกับปัญหาที่สำคัญ
7. อำนาจที่มาจากการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอำนาจ
2. ยุทธวิธีสำหรับการเป็นผู้นำที่มีการมอบอำนาจ
ลักษณะของการมอบอำนาจและการปฎิบัติเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้กลุ่มมีดังนี้
1. ลักษณะของการมอบอำนาจ
2. การปฎิบัติการด้านการมอบอำนาจ
3. ยุทธวิธีและกลยุทธ์ทางการเมือง จะกระตุ้นให้เกิดยุทธวิธีใหม่ ๆ ดังนี้
1. ยุทธวิธีและกลยุทธ์ทางการเมืองที่มีจริยธรรม
2. กลยุทธ์และยุทธวิธีการแสวงหาอำนาจโดยตรง
3. กลยุทธ์และยุทธวิธีมุ่งสร้างความสัมพันธ์
4. การหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดทางการเมือง
5. ยุทธวิธีและกลยุทธ์ทางการเมืองที่ไม่มีจริยธรรม
การพัฒนาทีมงาน
1. ความเป็นผู้นำแบบทีมงาน และความเป็นผู้นำแบบฉายเดี่ยว
- ความเป็นผู้นำแบบทีมงาน ( Team leadership ) เป็นภาวะผู้นำซึ่งมีภารกิจร่วมทำงานกับสมาชิก เพื่อกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งภายในองค์การ ผู้นำแบบทีมงานจึงจำเป็นต้องกระจายอำนาจให้กับทีมงาน พัฒนาเพื่อร่วมงานและกระตุ้นให้ทีมสร้างสรรค์ภารกิจใหม่ ๆ ขึ้นมา
- ความเป็นผู้นำแบบฉายเดี่ยว ( Solo leadership ) เป็นภาวะผู้นำที่แสดงหลายบทบาทในคนเดียวกัน โดยมุ่งใช้ความเด็ดขาด ชี้นำลูกน้อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
2. ข้อดีข้อเสียของการทำงานเป็นกลุ่ม และการทำงานเป็นทีม
1. การทำงานเป็นกลุ่ม หมายถึง การรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อทำงานร่วมกับบุคคลอื่นให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยอาจเป็นการรวมกันอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้
2. การทำงานเป็นทีม หมายถึง การที่บุคคลหลาย ๆ คนมารับผิดชอบงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุ
ประสงค์ร่วมกัน ซึ่งบุคคลแต่ละคนล้วนมีพื้นฐาน แนวความคิด ทัศนคติและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
3. พฤติกรรมและทัศนคติของผู้นำที่จะเกื้อกูลทีมงานที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดทีมงานที่มีประสิทธิผล
1. การกำหนดภารกิจของทีม
2. การกำหนดบรรทัดฐานของทีมงานและใช้ทฤษฎีความร่วมมือ
3. การมุ่งเน้นความภาคภูมิใจในความเป็นเลิศ
4. จัดให้มีการรวมตัวชุมนุมกัน
5. ปฎิบัติต่อสมาชิกของทีมเสมือนเป็นตัวต้นแบบของทีม
6. การใช้วิธีการนำแบบการลงมติเอกฉันท์
7. การออกแบบโครงสร้างทางกายภาพที่จะเอื้ออำนายต่อการสื่อสาร
8. กำหนดความเร่งด่วน การเรียกร้องมาตรฐานการทำงาน และการให้การชี้นำ
9. การมุ่งเน้นการเห็นคุณค่าของกลุ่มและการให้รางวัล
10. กระตุ้นการพัฒนากลุ่มอย่างสม่ำเสมอ
11. สนับสนุนให้มีการแข่งขันกับกลุ่มอื่น
12. สนับสนุนให้มีการใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม
13. การริเริ่มให้มีการใช้พิธีการและพิธีเกี่ยวกับระเบียบแบบแผน
14. รวบรวมผลป้อนกลับด้านประสิทธิผลของทีมงาน
15. ลดการบริหารให้มีน้อยที่สุด
4. การฝึกอบรมนอกสถานที่และการพัฒนาทีมงาน เป็นแนวทางการศึกษาวิธีการพัฒนาทีมงานอีกวิธีหนึ่งก็คือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมจากประสบการณ์ ซึ่งเป็นวิธีการให้ผู้มีส่วนร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมในการฝึกอบรมเกี่ยวกับปัญหาซึ่งเผชิญในการทำงาน
การจูงใจและทักษะการสอนงาน
1. ทฤษฎีความคาดหวัง หมายถึง การที่บุคคลได้รับการกระตุ้นจากภายในให้แสดงพฤติกรม โดยเป็นอิทธิพลภายในบุคคลซึ่งเป็นแรงผลักดันให้บุคคลใช้ความพยายามในการทำงาน โดยเป็นสิ่งเร้าใจให้บุคคลเกิดความคิดริเริ่ม ควบคุมรักษาพฤติกรรมและการกระทำของตนเองได้ ดังนั้นจึงถือเป็นทฤษฎีที่เสนอว่าบุคคลแต่ละคนจะทำการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานโดยถือเกณฑ์ความสามารถในการรับรู้ในผลการปฏิบัติงานและการได้รับรางวัล
2. ทฤษฎีการกำหนดเป้าหมาย เป็นทฤษฎีการจูงใจในการทำงานซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานกับลักษณะของเป้าหมายซึ่งเกี่ยวข้องการทำงานนั้น กล่าวคือพฤติกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผลมาจากความตั้งใจในการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งการกำหนดเป้าหมายคือการกำหนดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานนั่นเอง
3. ทักษะและเทคนิคการสอนงาน มีดังนี้
1. การสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวังที่ชัดเจน
2. ให้สมาชิกของทีมเข้าใจ ให้ข้อมูลป้อนกลับที่เฉพาะเจาะจง
3. ตั้งใจฟังอย่างกระตือรือร้น
4. ช่วยขจัดอุปสรรค
5. ให้ความช่วยเหลือด้านอารมณ์
6. ความเข้าใจอารมณ์ของทีมงาน
7. สะท้อนความรู้สึกต่อเนื้อหาและความสำคัญของการสอนงาน
8. เป็นผู้ให้คำแนะนำเชิงสร้างสรรค์
9. ยินยอมให้แสดงผลการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่พึงปรารถนา
10. สร้างพันธะผูกผันในการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน
ดร.สมัย เหมมั่น แนะนำการบริหารยุคสมัย ใหม่นี้ เป็น ยุคการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทุกฝ่ายที่ร่วมการทำงานต้องมีความจริงใจมากขึ้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น