วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประวัติ รถตู้โตโยต้า โตโยต้า ไฮเอซ


โตโยต้า ไฮเอซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Toyota Hiace H200 511.JPG
โตโยต้า ไฮเอซ
ผู้ผลิต:โตโยต้า
ปี:พ.ศ. 2510 - ปัจจุบัน
ประเภท:{{{ประเภท}}}
ลักษณะ:รถตู้
เครื่องยนต์:
รุ่นก่อนหน้า:ไม่มี
รุ่นต่อไป:{{{รุ่นต่อไป}}}
รุ่นที่ใกล้เคียง:โฟล์กสวาเกน ทรานสปอร์เตอร์
นิสสัน โฮมี
โตโยต้า ไฮเอซ เป็นรถตู้รุ่นหนึ่งที่ผลิตโดย โตโยต้า บริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น
โตโยต้า ไฮเอซ เริ่มผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2510 แต่เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยใน พ.ศ. 2525 และได้รับความนิยมสูงขึ้นเป็นลำดับ จนปัจจุบัน ไฮเอซได้รับความนิยมอย่างสูงในวงการรถตู้ในธุรกิจขนส่ง ทั้งขนส่งมวลชนและขนส่งพัสดุ ในต่างประเทศ ไฮเอซเป็นรถเพื่อการพาณิชย์ที่ผลิตรถในหลายรูปแบบ ทั้งรถตู้ธรรมดา, รถตู้หลังคาสูง, รถเอนกประสงค์(MPV), รถกระบะ, รถมินิบัส หรือแม้แต่รถบ้าน
แต่ในประเทศไทยในปัจจุบัน มีไฮเอซเข้ามาขายเพียง 3 รูปแบบ คือรถตู้ รถตู้หลังคาสูง และรถตู้หลังคาสูงระดับวีไอพี แต่เพื่อความชัดเจน โตโยต้าประเทศไทย ได้เปลี่ยนชื่อรถตู้ทั้ง 3 รูปแบบให้แตกต่างกัน คือ รถตู้ ใช้ชือไฮเอซตามเดิม, รถตู้หลังคาสูง ใช้ชื่อ คอมมิวเตอร์ (อังกฤษ:Toyota Commuter), และรถตู้หลังคาสูงระดับวีไอพี ใช้ชื่อ เวนจูรี (อังกฤษ: Toyota Ventury) แต่ทั้ง 3 รุ่นนี้ แท้จริงแล้ว เป็นรุ่นเดียวกัน คือ โตโยต้า ไฮเอซ เพียงแต่แตกต่างในเรื่องระดับความหรูหราและราคา
ปัจจุบัน โตโยต้า ไฮเอซ มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาแบ่งได้ 5 รุ่น ดังนี้

รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2510 - 2520)[แก้]

โตโยต้า ไฮเอซ รุ่นที่ 1
โตโยต้า ไฮเอซ รุ่นแรก มีรหัสตัวถัง H10 มีตัวถังอยู่ 2 แบบ คือ รถบรรทุก 4ล้อ และรถตู้ มีทั้งแบบ van,commuter มักถูกใช้เป็นรถสำหรับงานหนัก เช่น รถแคมเปอร์แวน (รถตู้สำหรับลุยป่าและจอดรถตั้งแคมป์ คล้ายรถ RV), รถสาธารณะ (ขนส่งมวลชน) และอื่นๆ โดยในช่วงนั้น สามารถพบเห็นได้มากในแถบยุโรปและแอฟริกา แต่ด้วยความที่ทำงานหนัก ทำให้ในปัจจุบัน ไฮเอซรุ่นแรกนี้ดูจะอยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้แล้วเป็นส่วนใหญ่ มีน้อยมากที่ยังสามารถพบเห็นได้บนถนน แม้แต่ในประเทศที่เคยมีรถรุ่นนี้วิ่งอย่างชุกชุมก็ตาม

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2520 - 2525)[แก้]

โตโยต้า ไฮเอซ รุ่นที่ 2
โตโยต้า ไฮเอซ รุ่นที่ 2 มีรหัสตัวถัง H20-H40 ได้รับการออกแบบให้มีความลู่ลมมากขึ้น และในรุ๋นนี้ได้มีการเพิ่มตัวถัง wagon เข้าไปในสายการผลิต มีเครื่องยนต์ทั้งแบบเบนซิน 1.6ลิตร 12R-J,2.0ลิตร 18R-J และเครื่องยนต์ดีเซล 2.2ลิตร L มีการเพิ่มตัวถังแบบรถบรรทุก รถตู้หลังคาสูงเข้าไปด้วย ในวงการรถไทย มักเรียกไฮเอซรุ่นที่ 2 นี้ว่า "โฉมหัวแตงโม"

รุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2525 - 2532)[แก้]

โตโยต้า ไฮเอซ รุ่นที่ 3
โตโยต้า ไฮเอซ รุ่นที่ 3 มีรหัสตัวถัง H50 รุ่นนี้ มีตัวถังใหญ่ขึ้น มีขาดลูกสูบตั้งแต่ 2.0-2.5 มีทั้งขับเคลื่อนสองล้อและขับเคลื่อนสี่ล้อ(แบบขับเคลื่อนสี่ล้อมีในเฉพาะญี่ปุ่น)โฉมนี้เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากขึ้น รถตู้ไฮเอซเริ่มพบเห็นในเมืองไทยมากขึ้น รวมทั้งยังมีการผลิตรถไฮเอซในตัวถังแบบรถบรรทุกขนาดเล็ก ซึ่งดูจะเป็นรุ่นเดียวที่ไฮเอซแบบรถบรรทุกจะประสบความสำเร็จ หลังจากเลิกผลิตรุ่นนี้ไปแล้ว รถบรรทุกของไฮเอซก็เริ่มเสื่อมความนิยม จนต้องเลิกผลิตไป

รุ่นที่ 4 (พ.ศ. 2532 - 2547)[แก้]

โตโยต้า ไฮเอซ รุ่นที่ 4
โตโยต้า ไฮเอซ รุ่นที่ 4 มีรหัสตัวถัง H100 มักถูกเรียกว่า "โฉมหัวจรวด" รุ่นนี้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ทั้งแบบไฮเอซและคอมมิวเตอร์ ซึ่งยังสามารถพบเห็นได้มากในท้องถนนปัจจุบัน โดยมักใช้เป็นรถขนส่งมวลชน เช่น รถโรงเรียน รถตู้ขนส่งมวลชน รถตู้ของบริษัทนำเที่ยว ฯลฯ ไฮเอซรุ่นนี้ มีขนาดลูกสูบตั้งแต่ 2.0 - 3.0 ลิตร ได้แก่ เครื่องยนต์เบนซิน:1RZ,1RZ-E,2RZ-E,1TR-FE เครื่องยนต์ดีเซล: 2L,2L-TE,3L,5L,1KZ-TE (แต่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นดีเซล) มีทั้งขับเคลื่อนสองล้อและสี่ล้อ
เป็นที่สังเกตว่า ไฮเอซรุ่นที่ 4 สามารถขายได้นานเป็นประวัติการณ์ของไฮเอซ โดยที่สามารถขายได้นานถึง 15 ปี ก่อนจะเปลี่ยนโฉม แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการออกแบบ และการปรับโฉมเล็กน้อยให้เข้ากับยุคสมัย จนทำให้สามารถขายได้นานที่สุดในประวัติศาสตร์ของไฮเอซ

รุ่นที่ 5 (พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน)[แก้]

โตโยต้า ไฮเอซ รุ่นที่ 5
โตโยต้า ไฮเอซ รุ่นที่ 5 มีรหัสตัวถัง H200 เป็นรุ่นปัจจุบันของไฮเอซ เปิดตัวในช่วงต้นปี พ.ศ. 2548 มีเครื่องยนต์ขนาด 2.0ลิตร-3.0ลิตร คือ 1TR-FE 2.0 ลิตร 2TR-FE 2.7 ลิตร 1KD-FTV 3.0 ลิตร 2KD-FTV 2.5 ลิตร แต่ในประเทศไทย เข้ามา 2 แบบ คือ เครื่องเบนซิน 2TR-FE 4สูบแถวเรียง DOHC 16 วาล์ว VVT-i 2,694 ซีซี 2,694 ซีซีในรุ่นเวนจูรี และ 1KD-FTV (I/C) 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว เทอร์โบอินเตอร์คูลเลอร์ 2,982 ซีซี ในรุ่นคอมมิวเตอร์ ไฮเอซ และเวนจูรี มีแบบขับเคลื่อนสองล้อและแบบขับเคลื่อนสี่ล้อ
ไฮเอซรุ่นนี้ ได้รับการตกแต่งให้ภายในมีความหรูหรา สะดวกสบาย ได้รับกระแสตอบรับอย่างดี โดยเฉพาะในภาคการขนส่งมวลชนและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม หลังการเปิดตัวได้ระยะหนึ่ง ก็พบว่า ทั้งไฮเอซและคอมมิวเตอร์ ยังมีจุดอ่อนในเรื่องระบบการป้องกันการโจรกรรม ผู้ต้องหาคดีโจรกรรมรถที่ถูกจับได้หลายคนยอมรับว่า ไฮเอซเป็นรถที่ขโมยได้ง่าย และขายได้ราคาสูงในตลาดมืด ต่างจากรถสปอร์ตหรูหราราคาแพง ที่ขโมยยากกว่า ในประเทศญี่ปุ่น ไฮเอซเป็นรถที่ถูกขโมยมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]

รถยนต์อีซูซุ "บัดดี้" ปีพ.ศ. 2522 ตำนานรถตู้ไทย

ย้อนรอยไทยรุ่งฯ ตอนที่ 4 แผลใจแห่งความรุ่งเรือง
รถสเตชั่นวากอน อีซูซุรุ่นแรก ที่นายห้างวิเชียรดัดแปลง เมื่อปี พ.ศ. 2522 จุดเริ่มต้นของการดัดแปลงรถที่ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา
        ในช่วงแรกที่ตั้งบริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด นายห้างวิเชียรและคุณปราณีต้องทำงานอย่างหนักหามชนิดรุ่งหามค่ำ กว่าจะกลับบ้านก็ดึกดื่นเที่ยงคืน ทำงานแบบไม่มีวันหยุดเลยก็ว่าได้
      
       นอกจากนั้นคุณปราณีจะปลูกฝังให้ลูกๆ ได้เรียนรู้เรื่องการทำงานของพ่อแม่ตั้งแต่ยังเด็ก เช่นในช่วงวันหยุดเรียนอย่างวันเสาร์-อาทิตย์ เธอมักจะพาลูกชายสองคน คือ ชาตรีและสมพงษ์ไปโรงงานด้วยเสมอ จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้งานและปัญหาต่างๆ พร้อมทั้งรับรู้ถึงความยากลำบากและปัญหาของพ่อแม่ตั้งแต่เล็กๆ
      
       และเมื่อเติบโตขึ้น ช่วงเรียนมัธยมปลาย นายห้างวิเชียรและคุณปราณีก็ส่งสมพงษ์ไปเรียนภาษาอังกฤษในช่วงซัมเมอร์ที่ประเทศอังกฤษ เพราะมองว่าภาษาเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินธุรกิจในอนาคต 
ย้อนรอยไทยรุ่งฯ ตอนที่ 4 แผลใจแห่งความรุ่งเรือง
โฉมหน้าของรถสเตชั่นวากอนรุ่น KB ที่ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากอีซูซุ
        หลังจากนั้นนายห้างวิเชียรก็มักจะหนีบเอาสมพงษ์ไปพบกับลูกค้าชาวญี่ปุ่นด้วยเสมอๆ ซึ่งก็มีส่วนช่วยให้สมพงษ์ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจของพ่อแม่มากยิ่งขึ้น ทั้งยังได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษและพอจะมีส่วนช่วยแปลและสื่อสารให้พ่อแม่ได้ตามสมควร เพราะทั้งพ่อและเม่ต้องทำมาค้าขายกับคนญี่ปุ่นโดยไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือญี่ปุ่นเลย และเป็นเช่นนี้เรื่อยมาตลอดตั้งแต่ช่วงที่สมพงษ์เรียนที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      
       การได้มีโอกาสช่วยเป็นล่ามให้นายห้างวีเชียรในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ ทำให้สมพงษ์ได้เห็นว่า แม้นายห้างวิเชียรจะไม่รู้หนังสือไทย อ่านเขียนไม่ได้แต่ก็มีพรสวรรค์ในการสื่อสารกับคนต่างชาติได้อย่างราบรื่น ด้วยวิธีการที่เป็นเฉพาะตัวของเขาเอง 
ย้อนรอยไทยรุ่งฯ ตอนที่ 4 แผลใจแห่งความรุ่งเรือง
ต้นแบบของมินิบัสยุคแรกๆ ที่ต่อมามีผู้ลอกเลียนมาผลิตจำหน่ายเป็นจำนวนมากและปัจจุบนไทยรุ่งฯ ได้เลิกผลิตไปแล้ว
        เช่น นายห้างจะพยายามใช้คำพูดง่าย และเขียนรูปประกอบคำพูด บวกกับท่าทางที่ใช้อธิบายหรือบางทีก็จะเขียนตัวหนังสือจีนแทนคำสื่อสาร และในระหว่างการสนทนานั้นนายห้างก็จะพยายามคิดทายใจคนที่สนทนาด้วยว่าอีกฝ่ายจะโต้ตอบอย่างไร ทำให้คุยกับคนเหล่านี้ได้รู้เรื่องโดยตลอดแม้ว่าไม่มีใครช่วยแปลภาษาให้ก็ตาม
      
       ระหว่างปี 2516-2522 กิจการของไทยรุ่งฯ เติบโตขึ้นมาเป็นลำดับ ด้วยการดัดแปลงรถประเภทต่างๆ มากมายภายใต้ฝีมือการออกแบบของนายห้างวิเชียร อาทิ ดัดแปลงรถบรรทุกให้เป็นมินิบัส ทำรถซูเปอร์แต๋นให้ชาวไร่ชาวนาใช้ประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย ผลิตรถบรรทุกยี่ห้อ “ชีต้า” ซึ่งเป็นรถบรรทุกยี่ห้อแรกของคนไทย สร้างรถตู้อีซูซุบัดดี้จากโครงสร้างรถปิกอัพ เป็นต้น 
ย้อนรอยไทยรุ่งฯ ตอนที่ 4 แผลใจแห่งความรุ่งเรือง
โฉมหน้าของรถซูเปอร์แต๋นรุ่นแรกๆ หนึ่งในความภูมิใจของนายห้างวิเชียร ที่สามารถช่วยให้ชาวไร่ชาวนาได้ใช้รถในราคาประหยัดแต่มีประโยชน์สูง
        จนกระทั่งในปี 2522 ไทยรุ่งฯ สร้างความฮือฮาให้วงการรถยนต์ด้วยการผลิดรถปิกอัพดัดแปลงสองตอน 4 ประตูออกจำหน่ายหรือที่รู้จักกันในชื่อ “ดับเบิ้ล แค็บ” นับเป็นก้าวแรกของการเป็นรถอเนกประสงค์พันธุ์ไทย
      
       ความสำเร็จของรถกระบะดัดแปลง 2 ตอน 4 ประตู ที่ใช้เครื่องยนต์อีซูซุ 2000 ซีซี 79 แรงม้า ท้ำให้สถานะของไทยรุ่งฯ ในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนบริษัทคนไทยเริ่มไม่ธรรมดา โดยเฉพาะฝ่ายญี่ปุ่นในฐานะผู้กุมตลาดรถยนต์เมืองไทยนั้นจับตามองอย่างใกล้ชิด
      
       จากรถ “ดับเบิ้ล แค็บ” นายห้างวิเชียรคิดไกลไปถึงความจำเป็นในการใช้รถของคนจำนวน 10-12 คนพร้อมๆ กัน นายห้างจึงทดลองทำรถตู้ขึ้นมาใช้งานในปี 2526 ซึ่งก็สำเร็จออกมาเป็นรถตู้ “ทีแอลดี” (TLD) โดยดัดแปลงมาจากรถบรรทุกอีซูซุรุ่น TLD หรือที่เรียกว่ารถตู้ขนมปังปอนด์ตามรูปร่างหน้าตาของมัน ซึ่งตลาดให้การตอบรับค่อนข้างดีเช่นกัน 
ย้อนรอยไทยรุ่งฯ ตอนที่ 4 แผลใจแห่งความรุ่งเรือง
        ฝ่ายญี่ปุ่นนั้นคงเห็นท่าไม่ดีว่า ไทยรุ่งฯ ทำท่าจะแข็งแกร่งขึ้นทุกวัน ซึ่งอาจเป็นได้ว่าวันหนึ่งจะสามารถเปลี่ยนตัวเองจากคู่ค้ากลายเป็นคู่แข่งขันที่น่ากลัวได้ ก็เลยเริ่มปรับกลยุทธ์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่ทั้งเอื้อประโยชน์และสร้างรอยแผลใจให้กับนายห้างวิเชียร
      
       โดยเมื่อรถตู้ทีแอลดีเริ่มออกสู่ตลาดใหม่ๆ นั้น ฝ่ายญี่ปุ่นมาขอให้ไทยรุ่งฯ ผลิตตามออเดอร์จำนวนมากโดยรับปากว่า จะทำตลาดเองทั้งหมด ซึ่งหากดูตามแผนแล้วการผลิตสินค้าล็อตนี้สามารถสร้างงานได้จำนวนมหาศาล เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
      
       ขณะนั้น “รถดับเบิ้ล แค็บ” ก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าจนผลิตแทบไม่ทันความต้องการอยู่แล้วเมื่อเห็นทางญี่ปุ่นสนใจรถตู้ดัดแปลงมากขนาดนั้น นายห้างวิเชียรก็สั่งขยายกำลังการผลิตเลย พร้อมกับสั่งอะไหล่มาเตรียมไว้ประกอบรถตู้ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
       
 
ย้อนรอยไทยรุ่งฯ ตอนที่ 4 แผลใจแห่งความรุ่งเรือง
        ปรากฎว่า จู่ๆ ทางญี่ปุ่นก็ยกเลิกการสั่งซื้อไปโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงกับไทยรุ่งฯ แต่แทนที่นายห้างจะตีโพยตีพายหรือตอบโต้ฝ่ายญี่ปุ่นไปอย่างรุนแรงในฐานะผู้เสียผลประโยชน์ เขากลับใช้วิธีปิดปากเงียบและสั่งเดินหน้าผลิตต่อ เพราะได้ตัดสินใจเลือกทางที่จะให้คนงานมีงานทำ และประกอบรถออกมาให้สำเร็จไว้ก่อน ส่วนเรื่องการขายจะทำอย่างไรนั้นเอาไว้จัดการทีหลัง
       

       ประสบการณ์ของนายห้างวิเชียรในการทำธุรกิจร่วมกับญี่ปุ่นมากกว่าครึ่งศตวรรษ ทำให้เขาซาบซึ้งดีว่า ไม่มีคนต่างชาติที่ไหนจะเมืองไทยอย่างแท้จริงหรอก ทุกคนเข้ามาลงทุนก็เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทั้งสิ้น ตราบใดที่การซื้อขายยังทำกำไรและคุ้มค่า ตราบนั้นก็ยังร่วมงานกันได้ แต่เมื่อใดที่อีกฝ่ายทำท่าจะได้เปรียบหรือฝ่ายตนได้ประโยชน์น้อยลงก็จะเริ่มมีความขัดแย้งเป็นธรรมดา 
ย้อนรอยไทยรุ่งฯ ตอนที่ 4 แผลใจแห่งความรุ่งเรือง
        อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปัญหาจุกจิกรบกวนหัวใจ แต่ไทยรุ่งฯ ก็ยังคงเดินหน้ารักษาสายสัมพันธ์อันดีกับคู่ค้าเก่าแก่ คืออีซูซุ เอาไว้อย่างเหนียวแน่น และระหว่างนี้ก็ยังคิดค้นทำอะไรใหม่ๆ ต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง
      
       จนกระทั่งในปี 2527 ไทยรุ่งฯ ก็สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ที่ประสบความสำเร็จสูงสุด นั่นก็คือ การออกแบบดัดแปลงรถปิกอัพ “อีซูซุ สเตชั่นวากอน” โดยดัดแปลงมาจากรถกระบะอีซูซุ KB ให้เป็นรถอเนกประสงค์ขนาด 11 ที่นั่ง ซึ่งเพิ่มประโยชน์ใช้สอยอย่างเต็มพิกัด ทั้งด้านการโดยสารและการบรรทุก
       

       ซึ่งนายห้างวิเชียรเคยพูดถึงเรื่องดังกล่าวว่า “สมัยก่อนผมจนมาก อยากมีรถใช้แต่ก็ไม่มีปัญญาซื้อใช้หรอก มีแต่คิดจะทำเรื่อยไป ผมเห็นว่ารถกระบะบรรทุกที่ชาวบ้านเอาไปใช้ เขาให้คนไปนั่งโดยสารที่กระบะหลังทั้งเด็กและผู้ใหญ่นั่งกันเต็มรถ มีเพียงโครงหลังคาเอาผ้าใบมาขึง ซึ่งอันตรายมาเวลาเกิดอุบัติเหตุ ผมจึงอยากจะทำรถอเนกประสงค์ที่มีราคาถูกให้ชาวบ้านได้ใช้งาน 
ย้อนรอยไทยรุ่งฯ ตอนที่ 4 แผลใจแห่งความรุ่งเรือง
รถยนต์อีซูซุ "บัดดี้" ปีพ.ศ. 2522
        ผมเลยมีความคิดว่าน่าจะเอารถปิกอัพมาทำเป็นสเตชั่นวากอน ตอนแรกที่ผมทดลองทำไม่มีใครเห็นด้วยกับผมเลย ญี่ปุ่นบางคนบอกกับผมว่า ผมบ้าหรือเปล่า เอารถใหม่ๆ มาดัดแปลงจะขายใครได้ ผมบอกว่า ไม่เป็นไร ผมใช้เงินผมเองไม่ได้ทำให้ใครเดือนร้อน”
      
       ในช่วงแรกๆ นั้นเมื่อทำขึ้นมาได้ก็มาเจอเรื่องภาษีอีก ต้องเสียภาษีโภคภัณฑ์ในอัตราที่สูง สมัยนั้นทางเจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้าคุณทำได้ถึง 11 ที่นั่ง ถือเป็นรถโดยสารก็ไม่ต้องเสียภาษี นายห้างจึงต้องไปคิดใหม่เอากระบะหลังมาขุดตรงกลางให้มันลึกลงไปทั้งสองข้างก็นั่งได้ข้างละ 3 คน รวมเป็น 6 คน ข้างหน้า 2 แล้วเบาะหลังอีก 3 รวมเป็น 11 คนพอดี จึงทำให้อีซูซุ สเตชั่นวากอนขายได้ในราคาที่ไม่แพง
      
       และในช่วงนี้เองที่สื่อมวลชนเริ่มขนานนามของนายห้างวิเชียรว่าเป็น “ราชาแห่งรถกระบะดัดแปลงของเมืองไทย”
       โปรดติดตามต่อไปใน ย้อนรอยไทยรุ่งฯ ตอนจบ 

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

D-HOUSE GROUP ร่วมทุน จับหุ้น กลุ่ม CP ลงทุนอสังหาฯ หวังกำไร ในไตรมาส สามตั้งเป้าช้อน 51 เปอร์เซ็นต์

หุ้นสามัญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หุ้นสามัญ เป็นตราสารทุนที่ บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ การถือหุ้นสามัญเป็นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม มีสิทธิในการได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ อย่างไรก็ตามในทางทฤษฏี ผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้าย ในการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุน หากบริษัทล้มละลายหรือเลิกกิจการ
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นสามัญที่จดทะเบียนจะมีชื่อย่อ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ชื่อย่อคือ BBL หุ้นประเภทอื่นที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีเครื่อง หมาย -(ขีด) ต่อจากชื่อย่อ แล้วตามด้วยประเภทของตราสารทุนดังนี้

ประเภทของหุ้นสามัญแบ่งตามกลุ่มการลงทุน[1]

  • หุ้นบลูชิป (Blue-chip stock) เป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ ไม่มีหนี้สินใหม่ โดยทั่วไปราคาของหุ้นบลูชิปจะมีราคาสูง ทำให้อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับต่ำ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักการลงทุน high risk, high return ตัวอย่างของหุ้นบลูชิปที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ SCC, PTT เป็นต้น
  • Income stock หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด
  • Growth stock หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตของกำไรสูงกว่าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่มักจ่ายเงินปันผลต่ำ
  • Cyclical stock หุ้นของบริษัทที่มีการขยายตัว หดตัวตามวงจรของเศรษฐกิจ
  • Defensive stock หุ้นที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับตลาด หรือหุ้นที่มีค่าเบต้าติดลบ
  • Large-cap stock หุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดสูงมากกว่า 4,400 ล้านบาท เช่น หุ้นใน SET50 index
  • Midcap stock หุ้นที่มีมูลค่าตลาดอยู่ระดับกลางระหว่าง 540 -4,400 ล้านบาท
  • Small-cap stock หุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำกว่า 540 ล้านบาท

อ้างอิง

  1. Kapoor, J.R., L.R. Dlabay, and R.J. Hughes, 2007, Personal Finance, 8th edition, McGraw-Hill, Chapter 14.