วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การกรีดและทุบรื้อคอนกรีต footing นั้.นเสายังไม่เรียบร้อย งานฐานราก ทำผิดแบบ มีหลักการแก้ไขที่ดี www.d-housegroup.com

รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 5

www.d-housegroup.com

 

กระทู้คำถาม
สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์
จากกกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้

รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1 http://pantip.com/topic/30590647
รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2 http://pantip.com/topic/30609981
รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 3 http://pantip.com/topic/30679826
รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 4 http://pantip.com/topic/30698830

วันนี้ผมของลงฉบับที่ 5 เพื่อติดตามงานกันนะครับ

ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ
1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน
2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านที่อาจถูกเอาเปรียบได้

ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ
เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ
27 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
จากกระทู้ฉบับที่ 4 วันนี้จะมาตามงานกันต่อ วันนี้ขอขึ้นเรื่องการผูกเหล็กคานครับ

ก่อนอื่น เราต้องกลับไปดูแบบโครงสร้างงานคานก่อน



ผมขอยกตัวอย่างคาน B17 บริเวณที่จอดรถนะครับ



ต่อมาเราก็มาดูรานละเอียดว่า คาน B17 หน้าตามันเป็นแบบไหน



ทีนี้เราก็ได้ข้อมูลครบแล้วครับ
ความคิดเห็นที่ 2
ผมขออธิบายรายละเอียดในส่วนของคานก่อนนะครับ



ขั้นที่ 1 ดูขนาด กว้างxยาว ขนาด 0.2x0.6 เมตร
เราก็รู้ว่า คานตัวนี้ กว้าง 20 ซม. สูง 60 ซม.

ขั้นที่ 2 ดูเหล็กเสริมหลักตามยาว เหล็กด้านบน 3DB20 ด้านล่าง 3DB20
เราก็รู้ว่า คานตัวนี้เสริมเหล็กตามยาวด้วยเหล็ก DB หรือ เหล็กข้ออ้อย ขนาด 20mm. ทั้งบนและล่าง จำนวน 3 เส้น

ขั้นที่ 3 ดูเหล็กปลอก ก็คือเหล็กที่ลักษณะเหมือนเป็นกรอบรัดรอบเหล็กข้างบนและล่าง
ปกติจะเขียนด้วยตัว ป. นำหน้า เพื่อบอกว่า เหล็กปลอก หรือ ในรายละเอียดมีตัว @ หมายถึงทุกๆระยะ
เราก็รู้ว่า คานตัวนี้เสริมเหล็กปลอกด้วยเหล็ก RB9 ทุกๆระยะ 20 ซม.

ขั้นที่ 4 ดูเรื่องระยะหุ้มเหล็ก โครงการนี้ผมกำหนด covering ให้ดังนี้

1. footing ใช้ 7.5 ซม. err 0.5 ซม.
2. เสาตอม่อ ใช้ 5.0 ซม. err 0.5 ซม.
3. เสาชั้น 1 และ 2 ใช้ 3.5 ซม. err 0.3 ซม.
4. คานชั้น 1 และ คานบ่อน้ำ กว้าง น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 25 ซม. 
ด้านข้างคาน ใช้ 2.5 ซม. err 0.2 ซม.
ด้านบนและล่างคาน ใช้ 5.0 ซม. err 0.5 ซม.
5. คานชั้น 1 และ คานบ่อน้ำ กว้าง มากกว่า 25 ซม.
ด้านข้างคาน ใช้ 5.0 ซม. err 0.5 ซม.
ด้านบนและล่างคาน ใช้ 5.0 ซม. err 0.5 ซม.
6. คานชั้น 2 และ คานหลังคา กว้าง น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 25 ซม. 
ด้านข้างคาน ใช้ 2.5 ซม. err 0.2 ซม.
ด้านบนและล่างคาน ใช้ 3.0 ซม. err 0.3 ซม.
7. คานชั้น 2 และ คานหลังคา กว้าง มากกว่า 25 ซม. 
ด้านข้างคาน ใช้ 3.0 ซม. err 0.3 ซม.
ด้านบนและล่างคาน ใช้ 3.0 ซม. err 0.3 ซม.

คาน B17 ตัวนี้จะเข้ากรณีที่ 4 ใช้ covering ด้านข้าง 2.50 ซม. และด้านบนและล่าง 5.0 ซม.

บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมถึงแยกคานชั้น 1 ออกจากชั้น 2และ3
เหตุผลเพราะคานชั้น 1 มีโอกาสสัมผัสความชื้นจากดินได้มากกว่าชั้น 2 และ 3 จึงต้องมี covering มากกว่า

และบางท่านอาจสงสัยอีกว่า ทำไมถึงแยกคานเป็นแบบ 20 ซม. และ 25 ซม.
เหตุผลเพราะ ถ้าคาน 20.0 ซม. ใช้ covering 5.0 ซม. 
เหล็กก็จะอยู่ห่างจากริมคานข้างละ 5.0 ซม. 2 ข้างเป็น 10.0 ซม. 
จะเหลือพื้นที่ให้เหล็กเพียง 10 ซม. ซึ่งน้อยเกินไป ไม่สารถจัดเหล็กใส่ลงไปได้

ถ้าเป็น 15.0 ซม. สามารถทำงานได้ จึงต้องปรับ covering เหลือ 2.5 ซม. ครับ

แต่ตัวคานกว้างมากกว่า 25.0 ซม.
จะเป็น covering 5.0 ซม. จะเหลือพื้นที่ 15.0 ซม. ซึ่งสามารถเรียงเหล็กลงไปได้ครับ

ขั้นที่ 5
ระดับการเทคอนกรีต
เราก็จะรู้ว่าคอนกรีตที่เทลงไปนั้นได้ระดับการเทหรือไม่
ผมจะเช็คจากแบบที่ผมได้เคลียร์ไว้ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 3
ขั้นต่อมาเราก็มาตรวจตามขั้นตอนกันนะครับ

ขั้นที่ 1 วัความกว้างและสูง





ความกว้างได้ 15.50 ซม. ถือว่าใกล้เคียงครับ ความสูงได้ ประมาณ 60.00 ซม. ต้องปรับลงอีก 5.0 ซม. ครับ
เพราะมี covering อีก 5.0 ซม. ระดับจะสูงเกินไป 

เท่าที่ผมยอมให้ได้คือ ประมาณ 1.0 ซม. ครับ สามารถไปปรับที่ topping หลังจากวางแผ่นพื้นสำเร็จได้
แต่อันนี้สูงไปหน่อยครับ ต้องปรับลง 
การทำงานในส่วนคาน ควรให้เพี้ยนน้อยที่สุดก่อน เพราะมันจะมีค่า err สะสมไปเรื่อยๆ

ถ้าปล่อยแต่แรก มันจะแก้ยาก ถ้ายิ่งระดับของพื้นสำเร็จอยู่สูงกว่าระดับเท topping
ก็ต้องปรับ topping ให้หนาขึ้น ซึ่งจะไปบีบให้ระดับพื้นกับฝ้าแคบลง
และจะไปมีผลกับงาน ประตู และ หน้าต่าง ขนาดใหญ่ได้ครับ

อันนี้ถือว่าไม่ผ่านครับ
www.d-housegroup.comดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 4
ขั้นที่ 2 เหล็กเสริมหลักตามยาว



จากรูปจะเห็นว่า เหล็กมีตราปั้ม DB 20 เอาไว้ มีจำนวน 3 เส้นตามแบบครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ขั้นที่ 3 ดูเหล็กปลอก



ผมดึงตลับเมตรยาวและวางไว้บนคาน
จะเห็นว่าตำแหน่งเหล็กปลอกจะอยู่บนระยะ 60.0 ซม. 80.0 ซม. และ 100.0 ซม.
ระยะห่างอยู่ที่ 20.0 ซม. พอดี

ถือว่าผ่านครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ขั้นที่ 4 ระยะหุ้มเหล็ก เราก็ตรวจจากลูกปูนครับ



แอบไปวัดในเข่งเลยครับ ขนาดใกล้เคียง
ถือว่าผ่านครับ
ความคิดเห็นที่ 7
ขั้นที่ 5 ระดับเทคอนกรีต
ก่อนอื่น ผมจะให้หน้างานทะระดับขึงเอ็นทำระดับ +1.55 ก่อน ซึ่งเป็นระดับพื้นชั้น 1
เพื่อใช้เป็นระดับอ้างอิง เพื่อวัดจากเส้นเอ็นลงไปหาคาน



จากนั้นผมกลับไปดูระดับที่ผมเคลียร์แบบไว้ว่าระดับหลังคานนั้นอยู่ที่ระดับเท่าไร



จะเห็นว่าระดับหลังคานอยู่ที่ระดับ +0.85 
ผลต่างระหว่าง +1.55 กับ +0.85 เท่ากับ 0.70 เมตร
หมายความว่าจากระดับเอ็นวัดลงไป 0.70 เมตร จะเป็นระดับหลังคาน



จากรูปผมวัดจากระดับเอ็นลงมาข้างล่าง จะเห็นว่า ระดับหลังเหล็กอยู่ที่ระดับประมาณ +0.71 เมตร
แต่ยังไม่ใช่หลังคานนะครับ ระดับหลังคานจะรวม covering ไปอีก 5 ซม. 
และระดับหลังคานจะอยู่ที่ + 0.66 เมตร

สรุปแล้วระดับเทคอนกรีตจะอยู่สูงกว่า ระดับที่กำหนดไว้ +0.04 เมตร หรือ 4.0 ซม.

โดยปกติ ถ้าเป็นโครงสร้างที่แก้ง่าย ผมจะให้รื้อเหล็กและผูกใหม่ เพราะต้องยึดระดับให้ใกล้เคียงที่สุดไว้ก่อน

แต่ถ้าสังเกตดูให้ดี เหล็กของคานตัวนี้ ไปพาดบนเหล็กอีกตัวหนึ่งทั้งๆที่ระดับคานทั้งสองตัวนี้เท่ากัน
หมายความว่า คานตัวหลังนั้นทำถูก และ คานตัวนี้ก็ไม่ผิด เพราะเหล็กตัวนี้ก็ต้องเข้าเสา
แต่มันไม่มีทางไป จึงต้องพาดอยู่ข้างบนถึงจะลงได้

ผมจะพยายามปรับระดับที่ใช้เทคอนกรีตให้ใกล้เคียงที่สุด โดยการสำรวจภาพรวมระดับคานทั้งหมดก่อน
และจะยึดระดับเทระดับใดระดับหนึ่ง
และไปปรับที่ covering อาจจะ 7.0 ซม. บางตัว อาจจะ 3.0 ซม.

และระดับหลังคาน อาจจะอยู่ที่ +0.68 หรือ +0.66 ก็ค่อยๆปรับ แต่ต้องใกล้เคียงกันมากที่สุด
คอนกรีตที่มีความเหลวมากหน่อย คอนกรีตจะได้ไหลลงไปได้ง่าย มีโอกาสเกิดโพรงได้น้อยลง

ส่วนแบบก่อสร้างผมจะค่อยๆไปไล่ทดระดับงานสถาปัตย์ขึ้นไปตามระดับที่เปลี่ยนไปของงานโครงสร้าง

อันนี้ก็เป็นเทคนิคการแก้ไขรูปแบบหนึ่งครับ
คานตัวเดียวก็เจอปัญหาแบบหนึ่ง คานอีกตัวหนึ่งก็จะเจอปัญหาอีกแบบหนึ่ง ก็ค่อยๆปรับไป
อันนี้จะเป็นปัญหาหนึ่งของงานก่อสร้างที่จะได้เจอแน่นอน

ส่วนการใช้วิธีวัดจากระดับอ้างอิงลงไปหาระดับหลังคาน
สุดท้ายเมื่อเทคอนกรีตแล้ว เราจะได้พื้นระดับเดียวกัน ไม่ต้องมาแก้ defect งานพื้นในภายหลังครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 8
ต่อมาผมขอพูดถึงวิธีการผูกเหล็กคานครับ



รูปแรกจะเห็นว่าปลายของเหล็กล่างของคานทั้ง 2 นั้น จะหยุดไว้แค่เสา อันนี้เป็นวิธีที่ผิดครับ



รูปสอง หลังจากแก้แล้ว จะเห็นว่าเหล็กล่างของคานจะวิ่งยาวผ่านคานทั้งสองตัว อันนี้ถือว่าถูกครับ

สองรูปนี้จะต่างกันในลักษณะการรับแรงดึงด้านข้าง

รูปแรก แรงดึงด้านข้างจะหยุดที่เสา กลายเป็นเสารับแรงดึง มีโอกาสที่เสาจะฉีกได้
เมื่อรับแรงมากๆ มีโอกาสที่เสาจะฉีกบริเวณมุมบน และค่อยๆลามเข้าไปในเสา ทำให้เสา fail ได้

รูปสอง แรงดึงด้านข้างจะถูกถ่ายไปที่คาน กลายเป็นคานรับแรงดึงแทนเสา

ส่วนเสาก็รับแต่แรงกดตามปกติครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 9
ต่อมาคือตำแหน่งหยุดเสาในคาน



จากรูปจะเห็นว่าปลายคานหยุดที่กลางเสา ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด
เหล็กคานควรไปหยุดอยู่ที่บริเวณขอบเสาอีกฝั่ง หรือ ถ้าติดเหล็ก ควรขยับให้ระยะสัมผัสเหล็กกับคอนกรีตให้ได้มากที่สุด

เพราะเหล็กมีหน้าที่รับแรงดึงให้คาน แรงดึงทั้งหมดจึงถูกถ่ายไปยังเหล็ก
ถ้าผิวสัมผัสคอนกรีต กับ เหล็กเส้นที่อยู่ในคาน มีค่าน้อยเกินไป
ก็เหมือนกับว่า แรงที่ใช้จับเหล็กเส้น ก็มีค่าน้อยตาม

มีโอกาสที่ระยะยึดเหนี่ยวไม่เพียงพอ และคานจะครูดพังลงมาได้
ความคิดเห็นที่ 10


ในแบบก่อสร้างงานคานในส่วนนี้ ท้องคานจะนั่งบนหลังคานพอดี
จากรูปจะเห็นว่าระดับเทคอนกรีตของ footing สูงกว่าระดับหลังคาน จึงต้องกรีดหลัง footing ลงไป เพื่อให้คานได้ระดับ

แต่การกรีดและทุบรื้อคอนกรีต footing .นเสายังไม่เรียบร้อย
ต้องทุบรื้อคอนกรีตที่กินเข้ามาในคานให้ได้มากที่สุดก่อน ไม่อย่างนั้นจะสูญเสียหน้าตัดคาน
ทำให้คานสามารถรับแรงได้น้อยลง
แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 11
ต่อมาผมขอย้อนกลับมาเรื่อง footing 



จากรูปจะเห็นว่าเมื่อถอดแบบแล้วมีโพรงอากาศบริเวณผิวคอนกรีต



เก็บงานด้วยปูนกำลังรับแรงอัดสูงตัวเดียวกับที่ผมใช้ซ่อมงาน
ความคิดเห็นที่ 12
เมื่อเสร็จงาน footing แล้ว จะทำการถมดินกลับ 





จากรูปจะเห็นว่าดินไปติดอยู่บริเวณเสาเหล็ก ซึ่งต้องเอาดินออกเพราะความชื้นจากดินจะทำให้เหล็กเป็นสนิมได้
ความคิดเห็นที่ 13
ต่อมาผมขอพูดถึงเรื่องงานระบบไฟฟ้าครับ ก็ย้อนกลับไปดูแบบก่อสร้างงานไฟฟ้าก่อน





แบบสัญญาที่ผมได้มีเท่านี้ครับ ทั้ง 2 ชั้นเหมือนกัน
ความคิดเห็นที่ 14
ต่อมาผมไปดูที่ BOQ ครับ



boq แผ่นแรกระบุตู้เมนไฟฟ้า 1 ชุด ตู้เมนย่อย 3 ชุด แต่ในแบบยังไม่ได้กำหนดคุณสมบัติหรือตำแหน่งอะไรมาเลย
ก็ต้องไล่ไปก่อนว่า เจ้าของบ้านจะให้ติดตู้แต่ละตู้ที่ตำแหน่งไหนของบ้าน

ส่วนตัวควบคุมไฟฟ้าว่าตัวไหน ขนาดเท่าไร จะถูกออกโดยผู้ออกแบบงานไฟฟ้า
เราจึงเอาขนาดตู้มาเทียบกับบริเวณติดตั้งอีกว่า พื้นที่สามารถติดตั้งได้หรือไม่

การ control สวิตย์ย่อยแต่ละตัวว่าควบคุมไหนบ้าง เช่น สวิตย์ย่อยนี้ควบคุมห้องนั่งเล่น สวิตย์ย่อยตัวนี้ควบคุมห้องนอน
จะถูกกำหนดโดยเจ้าของบ้านในภายหลังได้ครับ ซึ่งผู้รับเหมาต้องทำเสนอก่อน



boq แผ่นสองระบุว่ามีสายไฟขนาด 70 sqmm ซึ่งตัวนี้เป็นสายเมนไฟฟ้าแน่นอน
ตอนแรกผู้รับเหมาแจ้งว่าสายเมนไฟฟ้าจากมิเตอร์เข้าตู้ MDB เราต้องเป็นคนออกเอง

เมื่อผมแย้งไปว่าตาม boq มันมี ก็ต้องทำ ถ้าไม่ทำงานก็ต้องตัดออก
ตอนหลังกลายเป็นว่า สายเมนไฟฟ้า ทางผู้รับเหมาเป็นคนทำ
ทางผมเป็นคนออกค่าสายไฟฟ้าจากหม้อแปลงเข้ามิเตอร์แทน

ไม่เป็นไรครับ ของแบบนี้เข้าใจคลาดเคลื่อนกันได้



แผ่นสาม ระบุว่าจ้องมีระบบสายดิน ต้องปัก ground rod 
ซึ่ง ground rod ต้องปักก่อนที่งานพื้นจะเริ่ม เพราะ ground rod ต้องมี 1 ตัวฝังบริเวณตู้ MDB 
และอีก 2 ตัว ถูกกำหนดโดยผู้ออกแบบ แต่ยังไม่มีแบบก่อสร้างในส่วนนี้

กลายเป็นว่าตอนนี้หน้างานช้าเพราะแบบก่อสร้างงานระบบไฟฟ้าแทนครับ
เพราะยังไม่มีตำแหน่ง ground rod
แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 15




นอกจากนั้นยังมีงานระบบโทรศัพท์และระบบทีวีที่ยังไม่มีการเคลียร์แบบก่อสร้างเช่นกัน
ก็ต้องไปไล่ตามเก็บให้หมดโดยเร็วที่สุดครับ
ความคิดเห็นที่ 16
ต่อมาผมขอพูดถึงเรื่องงานระบบสุขาภิบาลครับ



รูปแรก เป็น งานระบบสุขาภิบาลชั้น 1 จะเห็นว่าห้องน้ำอยู่บริเวณริมอาคาร
ไม่ค่อยมีปัญหามากครับ
แต่ถ้าอยู่บริเวณกลางบ้านจะมีปัญหาเรื่อง slope ของท่อน้ำทิ้ง ซึ่งยิ่งไกลปลายท่อก็ยิ่งต่ำลงไปเรื่อยๆ
และจะมีผลกับระดับของถังบำบัดครับ ถ้าตั้งถังบำบัดสูงกว่าระดับท่อ จะกลายเป็นว่าน้ำย้อนเข้าอาคารครับ



รูปที่สอง เป็น งานระบบสุขาภิบาลชั้น 2 จะเห็นว่าห้องน้ำอยู่บริเวณริมอาคารเช่นกันครับ



รูปที่สาม ผมขยายดูบริเวณช่องเปิดการเดินท่อจากชั้นล่างขึ้นมาชั้นบน
ว่าท่อต่างๆสามารถเดินในช่องเปิดได้หรือไม่ ดูคร่าวๆแล้วเหมือนสามารถเดินได้

แต่ก็ต้องทำแบบแสดงการติดตั้ง และ camp ล็อคท่อว่าใช้ขนาดเท่าไร กินพื้นที่เท่าไร สามารถใส่ลงไปได้ทั้งหมดหรือไม่
และสุดท้ายต้องการขยายช่องเปิดอีกหรือไม่ ซึ่งจะไปพันงานสถาปัตย์ภายนอกอีกว่าทางสถาปัตย์จะยอมขยายให้หรือไม่

และยังมีเรื่องท่ออากาศ บริเวณที่จะปล่อยปลายท่อทิ้งเอาไว้ว่าจะเป็นบริเวณไหน
ถ้ากำหนดจุดทิ้งแล้ว จะเสียรูปทางสถาปัตย์ภายนอกหรือไม่ และเจ้าของบ้านรับได้หรือไม่ 

ซึ่งต้องรีบเคลีร์แบบไว้ให้เร็วที่สุดเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น