วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ความหมาย และวิวัฒนาการด้านการพิมพ์ พนักงานขาย ต้องทราบ บ้านสิวารัตน์ โทร02 801-1802-6 www.d-housegroup.com

www.d-housegroup.com



บ้านสิวารัตน์ โทร02 801-1802-6

ความหมาย และวิวัฒนาการด้านการพิมพ์

ความหมายของการพิมพ์

    คำว่า “พิมพ์” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “print” ซึ่งหมายความถึง การผลิตข้อความและภาพโดยใช้ตัวพิมพ์ แม่พิมพ์ หรือ แบบพิมพ์ ซึ่งถูกทาหรือฉาบด้วยหมึกแล้วกดทับลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่นกระดาษ ผ้า ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 คือ  1) การใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพให้ติดลงบนวัตถุ เช่น กระดาษ ผ้า  2) การทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน
เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นมาหลายสำเนา

    ส่วนคำว่า “การพิมพ์” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “printing” ซึ่งหมายความถึง การผลิตสำเนาข้อความและภาพลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่นกระดาษ ผ้า ตามความหมายในพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 คือ การทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกด หรือ การใช้พิมพ์หิน
เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดให้เกิดเป็นสื่อพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา
วิวัฒนาการของการพิมพ์วิวัฒนาการการพิมพ์เริ่มจากยุคโบราณเมื่อมนุษย์รู้จักการสื่อสารกันด้วยการวาดภาพ การเขียนสัญลักษณ์เป็นรูป ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นตัวอักษรภาพ แล้วจึงเป็นตัวอักษร การพิมพ์ได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศจีน ได้มีการสร้างแม่พิมพ์โดยแกะสลักตัวอักษรหรือภาพลงบนท่อนไม้ ก้อนหิน งาช้าง หรือกระดูกสัตว์ แล้วนำแม่พิมพ์ที่ได้ไปกดลงดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือครั่ง ปรากฏเป็นตัวอักษรหรือภาพตามแม่พิมพ์ เมื่อมีการคิดค้นทำกระดาษขึ้น การพิมพ์ก็ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ
วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นนูน (Relief Printing) ประมาณปี ค.ศ. 170 ชาวจีนได้มีการคัดลอกตำราและรูปโดยแกะสลักตัวอักษรและรูปบนแผ่นหิน
ให้ส่วนที่เป็นตัวอักษรหรือลายเส้นนูนขึ้น แล้วนำเอากระดาษมาทาบ ใช้ถ่านมาถูจนเกิดภาพตัวอักษรบนกระดาษ ประมาณปี ค.ศ. 400 ชาวจีนชื่อ ไหว่ตัง ได้คิดค้นทำหมึกได้สำเร็จ

จึงมีการนำตราประทับซึ่งทำโดยการนำเอาก้อนไม้หรือก้อนหินมาแกะทำเป็นแม่พิมพ์ จุ่มหมึกแล้วประทับบนกระดาษและวัสดุอื่น ๆ  จากการทำตราประทับเล็ก ๆ ได้มีการทำแม่พิมพ์ที่ใหญ่ขึ้นมีข้อความและภาพมากขึ้น สามารถนำแม่พิมพ์ดังกล่าวมาจุ่มหมึกทำสำเนาบนวัสดุใช้พิมพ์ต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนมาก ๆ การพิมพ์ลักษณะนี้เรียกว่าการพิมพ์บล็อกไม้ (Wood Block Printing)ต่อมาในปี ค.ศ. 1040 มีชาวจีนชื่อ ไป่เช็ง ได้คิดค้นแกะตัวอักษรบนแท่งดินเหนียวเป็นตัว ๆ ทำให้แข็งโดยการผึ่งแดดแล้วนำไปเผา เมื่อต้องการใช้ก็นำแท่งดินเหนียวที่มีตัวอักษรที่เกี่ยวข้องมาเรียงเป็นข้อความที่ต้องการ แล้วใช้เป็นแม่พิมพ์สำหรับพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1400 ชาวเกาหลีได้คิดค้นประดิษฐ์ตัวพิมพ์ทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกได้สำเร็จ ทำให้ตัวพิมพ์มีความแข็งแรงมากขึ้น

ทางด้านยุโรป ในปี ค.ศ. 1455 นายโยฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ได้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์โลหะผสมได้สำเร็จเช่นกัน นายกูเตนเบิร์กยังได้พัฒนาเครื่องพิมพ์ หมึกพิมพ์ กระดาษที่ใช้พิมพ์ และกรรมวิธีในการพิมพ์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการพิมพ์”  การพิมพ์พื้นนูนที่เรียกเล็ตเตอร์เพรสส์ (Letter Press) นี้จึงเป็นที่นิยมกันมากขึ้น มีการตั้งโรงพิมพ์ขึ้นตามเมืองใหญ่ ๆ และเผยแพร่สู่ประเทศอเมริกา เนื่องจากการเรียงพิมพ์ด้วยมือต้องใช้แรงงานและใช้เวลามาก จึงมีการคิดค้นใช้เครื่องเรียงตัวอักษร (Linecast Typesetting) ซึ่งใช้ความร้อนหล่อตัวพิมพ์ จึงเรียก “ตัวพิมพ์แบบร้อน” (Hot Type) ที่มีชื่อเสียงคือ เครื่องเรียงไลโนไทป์ (Linotype) ซึ่งจะทำการเรียงทีละบรรทัด นิยมใช้ในงานทำแม่พิมพ์หนังสือพิมพ์  และเครื่องเรียงโมโนไทป์ (Monotype) ซึ่งเป็นเครื่องที่เรียงออกมาเป็นตัวต่อกันเป็นบรรทัด นิยมใช้ในงานทำแม่พิมพ์หนังสือ ใน ค.ศ. 1898 ได้มีการประดิษฐ์เครื่องเรียงพิมพ์ด้วยแสงขึ้น (Phototypesetting) ใช้สร้างตัวพิมพ์แบบ “ตัวพิมพ์แบบเย็น” (Cold Type) นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแม่พิมพ์พื้นนูนแบบแผ่นด้วยการใช้วิธีฉายแสงโดยใช้น้ำยาไวแสงฉาบ
ลงบนแผ่นโลหะที่ใช้เป็นแม่พิมพ์ ทำให้การทำแม่พิมพ์สะดวกขึ้น
    เครื่องจักรที่ใช้พิมพ์แบบพื้นนูนในยุคแรก ๆ อาศัยแรงงานในการทำงานเป็นหลัก เป็นเครื่องแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ต่อมาได้มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ในปี ค.ศ. 1799 นายวิลเลียม นิโคลสัน (William Nicholson) ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำในการทำงานได้สำเร็จ ในช่วงแรกเครื่องพิมพ์มีลักษณะเป็นการป้อนกระดาษแบบแผ่น เมื่อมีความต้องการงานพิมพ์ให้รวดเร็วขึ้น จึงได้มีการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ที่ป้อนกระดาษแบบเป็นม้วนได้สำเร็จ ต่อมาได้มีการทำแม่พิมพ์ผิวที่นูนเป็นยางธรรมชาติและใช้สีย้อมอะนิลีนเป็นหมึกในการพิมพ์ จึงเรียกชื่อว่า การพิมพ์อะนิลีน (Aniline Printing) เมื่อสีอะลินินถูกห้ามใช้เนื่องจากมีพิษ จึงเลือกใช้หมึกชนิดอื่นและตั้งชื่อการพิมพ์แบบนี้ใหม่ว่า เฟล็กโซกราฟี (Flexography) ระบบเฟล็กโซกราฟีมีการพัฒนาในเวลาต่อมา มีการใช้ยางสังเคราะห์แทนยางธรรมชาติ ใช้หมึกแห้งเร็ว และนำลูกกลิ้งแอนิล็อกซ์ (Anilox Roller) มาช่วยในการจ่ายหมึกไปยังแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบเฟล็กโซกราฟีที่ใช่มาจนปัจจุบัน

วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นลึก (Recess Printing) ลักษณะการพิมพ์พื้นลึกจะต่างกับการพิมพ์พื้นนูนตรงที่ส่วนที่เป็นภาพที่ต้องการให้
ปรากฏหมึกพิมพ์ จะเป็นร่องลึกลงไปในแม่พิมพ์เพื่อขังหมึกไว้ส่งผ่านให้วัสดุใช้พิมพ์ต่อไป ชาวจีนเป็นผู้ริเริ่มการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีนี้โดยแกะท่อนไม้เป็นร่องลึกและใช้เป็นแม่พิมพ์
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ต่อมาชาวอิตาลี ชื่อ มาโช ฟินิเกอรา (Maso Finigura) ได้ใช้แผ่นทองแดงเป็นแม่พิมพ์แทนท่อนไม้แบบของชาวจีน ในยุคนั้นได้มีการใช้พิมพ์ภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์และภาพทางศาสนา และมีการเรียกกรรมวิธีการพิมพ์นี้ว่า การพิมพ์อินทาโย (Intaglio) ในช่วงแรก การทำแม่พิมพ์ใช้วิธีแกะสลักบนแผ่นโลหะ ต่อมาได้ใช้วิธีการเคลือบแผ่นโลหะด้วยสารที่ทนการกัดกร่อนของกรด ใช้เหล็กขูดสารเคลือบบริเวณส่วนที่ต้องการสร้างภาพแล้วใช้กรดกัดจนเกิดเป็น
ร่องลึกตามบริเวณที่ถูกขูด จากนั้นก็มีการพัฒนาโดยการกัดแม่พิมพ์โลหะหลุมเล็ก ๆ กระจายตามความเข้มที่ต้องการลงหมึกทำให้เกิดได้ภาพที่มีมิติขึ้น
    ในปี ค.ศ. 1844 นายวิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ ทาลบอท (William Henry Fox Talbot) ได้นำเทคนิคการสร้างภาพผ่านแผ่นสกรีนกระจกมาทำแม่พิมพ์โลหะและเรียกกรรมวิธีนี้ว่า โฟโตกราวัวร์ (Photogravure) การพัฒนาระบบกราวัวร์มีอย่างต่อเนื่องและสามารถประดิษฐ์เครื่องกราวัวร์ป้อนกระดาษ
แบบม้วนด้วยความเร็วสูง ซึ่งเรียกว่า โรโตกราวัวร์ (Rotogravure) ในปี ค.ศ. 1880 และต่อมาก็ได้มีการประดิษฐ์เครื่องกราวัวร์แบบป้อนแผ่นขึ้นในปี ค.ศ. 1913 การพิมพ์กราวัวร์ยังคงมีใช้อยู่จนปัจจุบันนี้ เหมาะสำหรับการพิมพ์งานที่มีปริมาณสูง
ยังมีการพิมพ์พื้นลึกอีกประเภทหนึ่ง คือการพิมพ์แพด (PadPrinting) แม่พิมพ์แพดเป็นแม่พิมพ์แบบพื้นลึกทำจาก
โลหะหรือ พอลิเมอร์

หลักการพิมพ์ของการพิมพ์ลักษณะนี้คือเมื่อแม่พิมพ์รับหมึกก็จะถ่ายหมึกให้ตัวกลาง
ซึ่งทำจากยางซิลิโคนที่ถูกเรียกว่าแพด (Pad) แพดจะถ่ายโอนหมึกให้กับวัสดุใช้พิมพ์อีกทอดหนึ่ง ก่อนหน้าปี ค.ศ. 1956 มีการใช้เจละตินทำเป็นแพด การพิมพ์ยังใช้เครื่องพิมพ์มืออยู่ งานส่วนใหญ่ใช้พิมพ์หน้าปัดนาฬิกา จานเซรามิก ในปี ค.ศ. 1965 ชาวเยอรมันชื่อ นายวิลเฟรด ฟิลลิปป์ (Wilfred Phillipp) ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แพดขึ้นสำหรับพิมพ์นาฬิกามีชื่อเรียกว่าเครื่องพิมพ์แทมโป (Tempoprint) และในปี ค.ศ. 1968 นายฟิลลิปป์ยังได้ใช้ซิลิโคนมาทำเป็นแพดแทนเจละติน ทำให้งานพิมพ์มีคุณภาพดีขึ้น และยังเป็นวัสดุที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นราบ (Planographic Printing) การพิมพ์พื้นราบเกิดภายหลังการพิมพ์เล็ทเตอร์เพรสส์และการพิมพ์อินทาโย ในปี ค.ศ. 1798 นายอะลัว เชเนเฟเดอร์ (Alois Senefelder) ชาวโบฮีเมียนได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์หิน (Lithography) ซึ่งเป็นการพิมพ์พื้นราบ โดยทำภาพที่ต้องการรับหมึกบนแม่พิมพ์หินให้เป็นไข แล้วใช้น้ำผสมกาวกระถินลูบบนแม่พิมพ์หินดังกล่าว น้ำที่ผสมกาวกระถินจะไม่เกาะบริเวณไข และเมื่อคลึงหมึกลงบนแม่พิมพ์หมึกมีคุณสมบัติเป็นน้ำมันจะไม่เกาะติดบริเวณที่เป็นน้ำแต่จะไป
เกาะติดบริเวณที่เป็นไขซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นภาพเมื่อนำแผ่นกระดาษมาทาบบนแม่พิมพ
์ก็จะเกิดภาพบนกระดาษนั้นและให้ภาพที่คมชัดสวยงามกว่าระบบการพิมพ์อื่นในยุคนั้น

ในปี ค.ศ. 1905 ชาวอเมริกันชื่อนายไอรา วอชิงตัน รูเบล (Ira Washington Rubel) ได้ค้นพบวิธีทำให้ภาพคมชัดขึ้นโดยบังเอิญ กล่าวคือ แทนที่จะให้กระดาษรับหมึกโดยตรงจากแม่พิมพ์ ก็ให้ผ้ายางเป็นผู้กดทับและรับหมึกจากแม่พิมพ์ก่อน แล้วผ้ายางจึงกดทับถ่ายหมึกที่เป็นภาพพิมพ์ไปยังกระดาษอีกที เนื่องจากผ้ายางมีความนิ่ม
การส่งถ่ายหมึกจึงสมบูรณ์ ภาพจึงคมชัดสวยงามยิ่งขึ้น การพิมพ์ที่มีการถ่ายทอดภาพพิมพ์สองครั้งนี้ถูกเรียกว่าการพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing)

การพิมพ์ระบบออฟเซ็ทมีการพัฒนาในหลายด้าน มีการใช้แม่พิมพ์เป็นแผ่นโลหะ
เคลือบสารไวแสงลงบนแม่พิมพ์ ปรับปรุงการสร้างภาพบนแม่พิมพ์ที่มีความละเอียดสูงขึ้น มีการคิดค้นการพิมพ์ออฟเซ็ทแบบไร้น้ำโดยใช้แม่พิมพ์ที่คลือบด้วยซิลิโคนซึ่งไม่ถูกกับ
น้ำมันและส่วนที่เป็นภาพนั้นซิลิโคนจะถูกกัดออกไป อีกทั้งมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ให้พิมพ์งานเร็วขึ้น แม่นยำขึ้น คุณภาพงานพิมพ์ดีขึ้น พิมพ์สอดสีได้ในการพิมพ์เที่ยวเดียว มีทั้งเครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่นและเครื่องพิมพ์แบบป้อนม้วน เนื่องจากคุณภาพงานพิมพ์ที่ดีและมีความคล่องตัวสูง การพิมพ์ระบบออฟเซ็ทจึงเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายและกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน
วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นฉลุ การพิมพ์พื้นฉลุมีมาตั้งแต่ยุคโบราณโดยทำแม่พิมพ์แบบง่าย ๆ ด้วยการตัดเจาะกระดาษหรือวัสดุอื่นเป็นช่องตามลักษณะของรูปที่ต้องการ ทาบแม่พิมพ์ลงบนสิ่งที่ต้องการพิมพ์แล้วใช้หมึกพ่นหรือปาดบนแม่พิมพ์ ก็จะได้ภาพดังกล่าว การพิมพ์แบบนี้ว่า การพิมพ์สเตนซิล (Stencil Printing) ในยุคแรก ๆ มีการพิมพ์ตัวอักษร เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีดังกล่าว ประเทศจีนได้ใช้กรรมวิธีนี้พิมพ์ภาพบนผ้าตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 การพิมพ์แบบนี้มักมีปัญหาคือ แม่พิมพ์ซึ่งทำจากกระดาษหรือวัสดุอื่นในสมัยนั้นไม่ค่อยแข็งแรง จึงพิมพ์ชิ้นงานได้น้อยและลวดลายของภาพหรือตัวอักษรจะมีบางส่วนขาดตอนไปเนื่องจาก
การตัดแม่พิมพ์ต้องเหลือส่วนของเนื้อแม่พิมพ์สำหรับยึดติดกันไม่หลุดลุ่ย ทำให้งานพิมพ์ดูไม่สวยงาม ต่อมามีการใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์เพื่อให้แม่พิมพ์แข็งแรงขึ้น แต่เป็นการสร้างความลำบากในการทำแม่พิมพ์และใช้เวลาในการทำ

ต่อมามีการพัฒนาให้กระดาษทนทานขึ้นและมีผู้นำกระดาษไปเคลือบไขแล้วใช้โลหะปลายแหลม ทิ่มด้วยมือลงบนกระดาษไขเป็นรูเล็ก ๆ เรียงกันให้เป็นภาพขึ้น ถึงแม้จะทำให้ได้งานที่ดีขึ้นแต่เป็นงานที่ใช้ฝีมือและเวลาในการทำ ในปี ค.ศ. 1876 นายโทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการดังกล่าวได้สำเร็จ เรียกว่าเครื่องพิมพ์โรเนียว หรือเครื่องทำสำเนาสเตนซิล (Stencil Duplicator) และยังประดิษฐ์ปากกาสเตนซิล (Stencil Pen) ใช้แทนโลหะปลายแหลม ต่อมามีพัฒนาวิธีการสร้างภาพบนกระดาษไขโดยใช้วิธีการฉายแสงซึ่งก็ใช้ได้จนถึงปัจจุบัน
ย้อนกลับไปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชาวญี่ปุ่นได้ใช้เส้นผมของคนและกาวมาทำแม่พิมพ์แบบฉลุขึ้น ทำให้ได้งานที่ละเอียดกว่าการตัดกระดาษ เรียกกรรมวิธีการพิมพ์นี้ว่า การพิมพ์แฮร์สแตนซิล (Hair Stencil) และต่อมาได้มีการใช้เส้นไหมซึ่งแข็งแรงกว่ามาใช้ทำแม่พิมพ์แทนเส้นผม จึงมีชื่อเรียกกรรมวิธีนี้ว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีน (Silkscreen Printing) การพิมพ์ซิลค์สกรีนได้แพร่เข้าไปในยุโรปและเป็นที่นิยมทั้งในฝรั่งเศสและอังกฤษ และถูกเผยแพร่ไปยังทวีปอเมริกา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวอเมริกันชื่อนายชาลส์
เนลสัน โจนส์ (Charles Nelson Jones) ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์สกรีนขึ้นสำเร็จ ทำให้การพิมพ์สกรีนผลิตงานรวดเร็วขึ้น การพิมพ์ซิลค์สกรีนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการใช้อย่างกว้างขวางเนื่องจากต้นทุนต่ำและทำงานง่าย ในปัจจุบันมีการใช้ผ้าใยสังเคราะห์แทนผ้าไหมในการทำแม่พิมพ์ และใช้สารไวแสงเคลือบก่อนที่จะนำภาพต้นแบบทาบแล้วสร้างภาพด้วยการฉายแสง

วิวัฒนาการการพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) ในอีกด้านหนึ่งได้มีพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องหลังจากที่มี
การประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ตัวแรกคือ อีนีเอค ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Computer) ในปีค.ศ. 1945 เครื่องพิมพ์ที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ ใช้พิมพ์เฉพาะตัวอักษรโดยไม่ได้เน้นความสวยงาม ประมาณปีค.ศ. 1979 ได้มีการบริษัทหลายบริษัทจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ก็มีการพัฒนาตามมาด้วย เครื่องพิมพ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์หรือพริ้นเตอร์ได้มีการพัฒนาเช่นกัน ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องพริ้นเตอร์โดยใช้หลักการพิมพ์แบบต่าง ๆ เช่น

การพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อน (Thermal Transfer Printing) ซึ่งใช้หลักการถ่ายความร้อนจากหัวพิมพ์ไปยังฟิล์มที่เคลือบด้วยหมึกพิมพ์ทำให้หมึกพิมพ
์หลุดไปเกาะติดกับวัสดุใช้พิมพ์จนเกิดเป็นภาพ

การพิมพ์แบบพ่นหมึก/อิงค์เจ็ท (InkJet Printing) ซึ่งใช้หลักการพ่นหยดหมึกเล็ก ๆ จากหัวพ่นไปสร้างเป็นภาพบนวัสดุใช้พิมพ์

การพิมพ์แบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Printing)
ซึ่งใช้หลักการควบคุมลำแสงสร้างภาพเป็นประจุไฟฟ้าบนกระบอกโลหะแล้วให้ผงหมึก
ไปเกาะบนกระบอกโลหะตามบริเวณที่มีประจุอยู่เกิดเป็นภาพที่ถูกถ่ายทอดไปเกาะติด
บนวัสดุใช้พิมพ์อีกทีหนึ่ง เครื่องพิมพ์แบบไฟฟ้าสถิตย์ที่ใช้ลำแสงเป็นแสงเลเซอร์จะเรียกว่า เครื่องพิมพ์เลเซอร์ หรือ เลเซอร์พริ้นเตอร์ (Laser Printer)
อนึ่งพริ้นเตอร์ที่ใช้หลักการตามที่กล่าวมานี้ต่างได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถพิมพ์สอดสีได้ภาพที่มีสีสันใกล้เคียงต้นฉบับ แต่มีข้อเสียคือได้ผลผลิตต่ำเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท จนในปี 1993 ได้มีการจำหน่ายพริ้นเตอร์ที่มีความเร็วสูงชื่อ E-Print 1000 ซึ่งได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบันโดยใช้ชื่อ HP Indigo  ส่วนบริษัทหลาย ๆ แห่งเช่น Xerox, Canon, Minolta ต่างได้ออกเครื่องพริ้นเตอร์ความเร็วสูงโดยใช้หลักการของเครื่องถ่ายเอกสารสีแบบเลเซอร์ นอกจากนี้ยังมีระบบการพิมพ์อีกแบบหนึ่งที่ใช้เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทมาดัดแปลงโดยสร้างแม่พิมพ
์บนโมลเพลทจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ก่อนทำการพิมพ์ การพัฒนาการพิมพ์ดิจิตอลยังคงดำเนินต่อไปทั้งด้านคุณภาพที่ดีขึ้น ความเร็วในการพิมพ์ที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อแผ่นพิมพ์ที่ถูกลง

DBA. in Global Management : การผลิตสิ่งพิมพ์แผ่นพับ/สิ่งพิมพ์ใบปลิวที่ดีและประ...www.d-housegroup.com

DBA. in Global Management : การผลิตสิ่งพิมพ์แผ่นพับ/สิ่งพิมพ์ใบปลิวที่ดีและประ...: แผ่นพับ ใบปลิว บริการงานพิมพ์แผ่นพับหรือพิมพ์ใบปลิว (Leaflets) มืออาชีพงานพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิวทุกชนิดทุกประเภท รวดเ...www.d-housegroup.com

การผลิตสิ่งพิมพ์แผ่นพับ/สิ่งพิมพ์ใบปลิวที่ดีและประสบความสำเร็จนั้น นอกจากต้องมีความรู้ เทคนิค www.d-housegroup.com

www.d-housegroup.com / dhouse01.blogspot.com



แผ่นพับ ใบปลิว

บริการงานพิมพ์แผ่นพับหรือพิมพ์ใบปลิว (Leaflets)
มืออาชีพงานพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิวทุกชนิดทุกประเภท รวดเร็วทันใจ คุณภาพสูง ราคามิตรภาพ พิมพ์แผ่นพับหรือพิมพ์ใบปลิวด้วยระบบออฟเซ็ท, ระบบดิจิตอลคุณภาพสูง 
Thaiartprint เราใช้ศาสตร์ และศิลป์ในการทำงาน 
การผลิตสิ่งพิมพ์แผ่นพับ/สิ่งพิมพ์ใบปลิวที่ดีและประสบความสำเร็จนั้น นอกจากต้องมีความรู้ เทคนิค ตลอดจนประสบการณ์ในกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์แผ่นพับ/สิ่งพิมพ์ใบปลิวแล้ว โรงพิมพ์ที่ดีต้องมีความรู้และความเข้าใจในด้านของศิลปะมาประกอบการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ ของการผลิตแผ่นพับ/ใบปลิว โรงพิมพ์ของเราจะมองภาพพิมพ์แต่ละภาพในแผ่นพับ/ใบปลิว หน้าพิมพ์แต่ละหน้าในแผ่นพับ/ใบปลิวเป็นเสมือนหนึ่งงานศิลปะที่มีจิตวิญญาณในขณะเดียวกัน
ก็จะคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของชิ้นงานแผ่นพับ/ใบปลิวเป็นสำคัญ  ท่านจะเห็นความแตกต่างของภาพพิมพ์แผ่นพับ/ใบปลิวจากโรงพิมพ์ของเรา
ไม่ว่าภาพพิมพ์แผ่นพับ/ใบปลิวนั้นจะเป็นภาพที่มีเพียงตัวอักษรอย่างเดียว หรือภาพที่พิมพ์สีเดียว สองสี ฯลฯ
งานพิมพ์ใบปลิวและงานพิมพ์แผ่นพับ ถ้าจะให้งานออกมาดีและมีคุณภาพมาตรฐานนั้น จะต้องดูแลรายละเอียดในทุก ๆ จุดและทุกขั้นตอนในการผลิตใบปลิว/แผ่นพับ ตั้งแต่เริ่มต้นการออกแบบ การวางรูปแบบ การเลือกรูปมาใช้ประกอบ การให้สีสัน การใช้กระดาษ การใช้หมึก และการพิมพ์สิ่งเหล่านี้โรงพิมพ์ของเรามีความเชี่ยวชาญสูงในประสบการณ์
ที่ผลิตงานพิมพ์ใบปลิวและพิมพ์แผ่นพับ 


พร้อมพิสูจน์ผลงานกับเราได้ที่นี่ 
หากท่านกำลังมองหาโรงพิมพ์แผ่นพับ/โรงพิมพ์ใบปลิวต่าง ๆ ที่มีคุณภาพและใส่ใจติดตามงานอย่างใกล้ชิดเรายินดีเสนอบริการพิมพ์แผ่นพับ
หรือพิมพ์ใบปลิวดังกล่าวด้วย ระบบออฟเซ็ท, ระบบดิจิตอล ที่พิมพ์สีสันสดใสสมจริง ท่านจะเห็นถึงความแตกต่างและรู้สึกคุ้มค่ากับบริการของโรงพิมพ์ฯ เรายังมีบริการรับออกแบบจัดทำต้นฉบับสำหรับลูกค้าที่สนใจพิมพ์แผ่นพับหรือพิมพ์
ใบปลิวต่าง ๆ
เกร็ดความรู้ และการทำความเข้าใจกับ เรื่องของ แผ่นพับใบปลิว  ความหมายของ แผ่นพับ ใบปลิว
แผ่นพับ หมายถึงสิ่งพิมพ์ใด ๆ มีการพับเข้าหรือกางออกขณะที่ใช้งาน ซึ่งจะเรียกสิ่งพิมพ์นั้นว่า "แผ่นพับ" ไม่ว่าแผ่นพับนั้นจะมีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือคู่มือสินค้า ตัวอย่างแผ่นพับ เช่น แผ่นพับแนะนำสินค้า แผ่นพับแนะนำบริการ แผ่นพับส่งเสริมการขาย แผ่นพับแนะนำองค์กร แผ่นพับแนะนำสถานที่สำคัญ แผ่นพับแนะนำสถานศึกษา แผ่นพับแนะนำสถานที่เที่ยว แผ่นพับแจ้งข่าวสาร แผ่นพับแนะนำร้านค้า แผ่นพับรับสมัครสมาชิก แผ่นพับคู่มือสินค้า แผ่นพับคู่มือการใช้บริการ แผ่นพับแผนที่ ฯลฯ

ใบปลิว หรือแผ่นปลิว (Leaflet) หมายถึง สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจที่มีเนื้อหาสาระเรื่องใดเพียงเรื่องเดียวได้แก่ คำแถลง ประกาศ ชี้แจง แจ้งความ โดยข้อความเหล่านั้นมักจะเป็นการให้ข้อมูล เพื่อแจกจ่ายไปยังกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณา หรือเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ก็ได้ ตัวอย่างใบปลิว เช่น ใบปลิวแนะนำสินค้า ใบปลิวเสนอบริการ ใบปลิวส่งเสริมการขาย ใบปลิวลดราคาสินค้า ใบปลิวคูปองสินค้า ใบปลิวแนะนำสถานศึกษา ใบปลิวแนะนำสถานที่เที่ยว ใบปลิวแนะนำร้านค้า ใบปลิวแจ้งข่าวสาร ใบปลิวตารางกิจกรรม ใบปลิวรับสมัครสมาชิก ใบปลิววิธีใช้สินค้า ใบปลิวเผยแพร่กิจกรรม ใบปลิวชักชวนเข้าร่วมกิจกรรม ฯลฯ

แผ่นพับหรือใบปลิวยังเป็นสื่อโฆษณาชนิด ไดเร็คมาร์เก็ตติ้ง ที่ผู้ผลิตสามารถส่งตรงถึงผู้บริโภคทางไปรษณีย์ หรือแจกจ่ายตามสถานที่ต่าง ๆ ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษที่ใช้พิมพ์ภาพ ข้อความ และองค์ประกอบอื่นเพื่อใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ใช้ในการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การศึกษา การรณรงค์ และในกิจการเฉพาะกิจอื่น ๆ รูปแบบของแผ่นพับนิยมใช้กระดาษขนาดที่เป็นมาตรฐานโดยเฉพาะขนาด A4 ในการจัดทำโดยอาจพิมพ์สีเดียวหรือสอดสีก็ได้ แล้วแต่ความประสงค์ของเจ้าของงาน และงบประมาณที่มีอยู่

     ลักษณะเด่นของแผ่นพับหรือใบปลิว คือ มีขนาดเล็ก หยิบถือได้สะดวก สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้มาก ค่าใช้จ่ายในการผลิตตํ่าเมื่อเทียบกับ สิ่งพิมพ์อื่นๆหากออกแบบให้มีลักษณะการพับที่น่าสนใจ จะก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อสินค้า หรือบริการนั้น ๆ

การพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิวเพื่อการโฆษณา พนักงานขายต้องทราบดี www.d-housegroup.com








ขั้นตอนการเตรียมงานพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิว
จัดทำแผนการการตลาด ในองค์กรใหญ่ ๆ  การพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิวเพื่อการโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาด (Marketing Plan) ทั้งหมด ซึ่งต้องมีการทำวิจัยตลาดและผลิตภัณฑ์ (Marketing Research)  กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) จุดขาย ฯลฯ ซึ่งหากทำเต็มรูปแบบจะต้องใช้งบประมาณที่สูง สำหรับ SME สามารถจัดทำอย่างประหยัด เช่นการวิจัยตลาด ก็ใช้วิธีสอบถามกลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง การหาจุดขายผลิตภัณฑ์ ก็ใช้วิธีเปรียบเทียบสินค้าคู่แข่ง ฯลฯ อย่างไรเสีย ควรมีการวางแผนการตลาดบ้าง เช่นกลุ่มเป้าหมายคือใคร ในรอบปีจะมีการจัดรายการอะไรบ้าง มีการใช้สื่อโฆษณาอย่างไร มีงบประมาณเท่าไร เป็นต้น
กำหนดวัตถุประสงค์ ก่อนที่จะจัดทำพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิว จำเป็นต้องทราบจุดประสงค์ในการจัดทำ เช่น ทำขึ้นเพื่อแนะนำสินค้าหรือบริษัทหรือส่งเสริมการขาย (Promotion) ด้วยการลด แลก แจก แถม กำหนดหัวข้อที่จะบรรจุลงในแผ่นพับ/ใบปลิว กำหนดช่องทางการแจกจ่ายเช่น แจกหน้าร้าน แจกตามศูนย์การค้าต่าง ๆ หรือส่งทางไปรษณีย์ถึงลูกค้าโดยตรง กำหนดแผนและช่วงเวลาการแจกจ่าย และท้ายสุดให้กำหนดความคาดหวังที่จะได้รับ (ทั้งนี้ไม่ควรตั้งความคาดหวังไว้สูงเกินไป เช่นโดยปกติความคาดหวังจากการตอบรับทางไปรษณีย์ควรอยู่ที่ประมาณ 1 ถึง 5 %) ความคาดหวังอาจรวมถึงการรับรู้หรือการตอกย้ำความนึกคิดในผลิตภัณฑ์หรือการบริการนั้น ๆ
กำหนดรูปแบบ ขนาด และจำนวนพิมพ์ วิธีหนึ่งในการกำหนดรูปแบบก็คือดูตัวอย่างแผ่นพับ/ใบปลิวที่มีอยู่ในท้องตลาด แผ่นพับ/ใบปลิวตามศูนย์การค้า หรือแผ่นพับที่ได้รับทางไปรษณีย์ เลือกรูปแบบที่เหมาะกับงานที่จะทำ สำหรับขนาดให้เลือกดูจาก "ขนาดของแผ่นพับ/ใบปลิว" ที่ระบุข้างล่างเพื่อความประหยัดไม่เสียเศษในการพิมพ์ ส่วนจำนวนพิมพ์ให้ดูจากความต้องการใช้งาน ท่านสามารถสอบถามราคาประเมินได้จาก โรงพิมพ์ สุพรีมพริ้นท์ โดยระบุรูปแบบได้หลายรูปแบบหรือจำนวนพิมพ์ได้หลายระดับ ในขั้นนี้ควรจัดทำแบบร่างคร่าว ๆ (Layout) เพื่อดูว่าจะเดินเรื่องอย่างไรหน้าแรกมีหัวเรื่องและภาพประกอบอย่างไร ฯลฯ
ออกแบบจัดทำ อาร์ตเวิร์ค ในปัจจุบันจะใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและจัดทำต้นฉบับ ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับภาพและการตกแต่งภาพ มักใช้ Adobe Photoshop ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดหน้า มักใช้Adobe Indesign, Illustrator, Pagemaker ในการจัดทำต้นฉบับ ให้คำนึงถึงหน้าแรกที่ผู้รับจะพบเห็น ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต้องให้เด่นสดุดสายตา แผ่นพับ/ใบปลิวบางชิ้นมีการทำไดคัตเป็นรูปให้ดูแปลกตา ข้อความในหน้าแรกต้องกระชับสื่อถึงสิ่งที่ต้องการให้รับทราบ และเร้าใจให้อ่านรายละเอียดต่อไป ในหน้าอื่น ๆ ให้ผูกเรื่องราวและภาพอย่างต่อเนื่อง หากเป็นแผ่นพับหลายทบให้ดูภาพหน้าที่ติดกันก่อนคลี่และหลังคลี่ให้ดำเนินอย่างสอดคล้องกัน หน้าสุดท้ายหรือส่วนสุดท้ายมักจะเป็นสถานที่ติดต่อหรือจุดที่ให้บริการ อนึ่ง ทางโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์มีบริการรับออกแบบจัดทำต้นฉบับงานแผ่นพับ/ใบปลิวให้ลูกค้าของเรา
สั่งพิมพ์งาน เมื่อจัดทำอาร์ตเวิร์คต้นฉบับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ก็สามารถส่งไฟล์งานและสั่งโรงพิมพ์ดำเนินตามขั้นตอนการพิมพ์ได้ต่อไป
จัดทำแผนการการตลาด ในองค์กรใหญ่ ๆ  การพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิวเพื่อการโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาด (Marketing Plan) ทั้งหมด ซึ่งต้องมีการทำวิจัยตลาดและผลิตภัณฑ์ (Marketing Research)  กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) จุดขาย ฯลฯ ซึ่งหากทำเต็มรูปแบบจะต้องใช้งบประมาณที่สูง สำหรับ SME สามารถจัดทำอย่างประหยัด เช่นการวิจัยตลาด ก็ใช้วิธีสอบถามกลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง การหาจุดขายผลิตภัณฑ์ ก็ใช้วิธีเปรียบเทียบสินค้าคู่แข่ง ฯลฯ อย่างไรเสีย ควรมีการวางแผนการตลาดบ้าง เช่นกลุ่มเป้าหมายคือใคร ในรอบปีจะมีการจัดรายการอะไรบ้าง มีการใช้สื่อโฆษณาอย่างไร มีงบประมาณเท่าไร เป็นต้น
กำหนดวัตถุประสงค์ ก่อนที่จะจัดทำพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิว จำเป็นต้องทราบจุดประสงค์ในการจัดทำ เช่น ทำขึ้นเพื่อแนะนำสินค้าหรือบริษัทหรือส่งเสริมการขาย (Promotion) ด้วยการลด แลก แจก แถม กำหนดหัวข้อที่จะบรรจุลงในแผ่นพับ/ใบปลิว กำหนดช่องทางการแจกจ่ายเช่น แจกหน้าร้าน แจกตามศูนย์การค้าต่าง ๆ หรือส่งทางไปรษณีย์ถึงลูกค้าโดยตรง กำหนดแผนและช่วงเวลาการแจกจ่าย และท้ายสุดให้กำหนดความคาดหวังที่จะได้รับ (ทั้งนี้ไม่ควรตั้งความคาดหวังไว้สูงเกินไป เช่นโดยปกติความคาดหวังจากการตอบรับทางไปรษณีย์ควรอยู่ที่ประมาณ 1 ถึง 5 %) ความคาดหวังอาจรวมถึงการรับรู้หรือการตอกย้ำความนึกคิดในผลิตภัณฑ์หรือการบริการนั้น ๆ
กำหนดรูปแบบ ขนาด และจำนวนพิมพ์ วิธีหนึ่งในการกำหนดรูปแบบก็คือดูตัวอย่างแผ่นพับ/ใบปลิวที่มีอยู่ในท้องตลาด แผ่นพับ/ใบปลิวตามศูนย์การค้า หรือแผ่นพับที่ได้รับทางไปรษณีย์ เลือกรูปแบบที่เหมาะกับงานที่จะทำ สำหรับขนาดให้เลือกดูจาก "ขนาดของแผ่นพับ/ใบปลิว" ที่ระบุข้างล่างเพื่อความประหยัดไม่เสียเศษในการพิมพ์ ส่วนจำนวนพิมพ์ให้ดูจากความต้องการใช้งาน ท่านสามารถสอบถามราคาประเมินได้จาก โรงพิมพ์ สุพรีมพริ้นท์ โดยระบุรูปแบบได้หลายรูปแบบหรือจำนวนพิมพ์ได้หลายระดับ ในขั้นนี้ควรจัดทำแบบร่างคร่าว ๆ (Layout) เพื่อดูว่าจะเดินเรื่องอย่างไรหน้าแรกมีหัวเรื่องและภาพประกอบอย่างไร ฯลฯ
ออกแบบจัดทำ อาร์ตเวิร์ค ในปัจจุบันจะใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและจัดทำต้นฉบับ ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับภาพและการตกแต่งภาพ มักใช้ Adobe Photoshop ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดหน้า มักใช้Adobe Indesign, Illustrator, Pagemaker ในการจัดทำต้นฉบับ ให้คำนึงถึงหน้าแรกที่ผู้รับจะพบเห็น ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต้องให้เด่นสดุดสายตา แผ่นพับ/ใบปลิวบางชิ้นมีการทำไดคัตเป็นรูปให้ดูแปลกตา ข้อความในหน้าแรกต้องกระชับสื่อถึงสิ่งที่ต้องการให้รับทราบ และเร้าใจให้อ่านรายละเอียดต่อไป ในหน้าอื่น ๆ ให้ผูกเรื่องราวและภาพอย่างต่อเนื่อง หากเป็นแผ่นพับหลายทบให้ดูภาพหน้าที่ติดกันก่อนคลี่และหลังคลี่ให้ดำเนินอย่างสอดคล้องกัน หน้าสุดท้ายหรือส่วนสุดท้ายมักจะเป็นสถานที่ติดต่อหรือจุดที่ให้บริการ อนึ่ง ทางโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์มีบริการรับออกแบบจัดทำต้นฉบับงานแผ่นพับ/ใบปลิวให้ลูกค้าของเรา
สั่งพิมพ์งาน เมื่อจัดทำอาร์ตเวิร์คต้นฉบับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ก็สามารถส่งไฟล์งานและสั่งโรงพิมพ์ดำเนินตามขั้นตอนการพิมพ์ได้ต่อไป

การวิเคราะห์การตลาด แบบง่ายๆ www.d-housegroup.com / dhouse01.blogspot.com

  การวิเคราะห์ตลาด (Nanosoft Marketing Series)

      จุดประสงค์ของการวิเคราะห์ตลาดก็เพื่อดูว่า สิ่งที่เป็นไปในตลาดเป็นไปอย่างที่เราคิดไว้หรือไม่ ผมเชื่อว่าท่าน คงมั่นใจในสิ่งที่ท่านคิดจะทำอยู่มากแต่ลองมาดูว่าในโลกของความเป็นจริงมันเป็นอย่างไรโดยการพยายามตอบคำถามง่ายๆให้ได้ว่า
  • ใครจะเป็นผู้ซื้อของเรา
  • ทำไมเขาถึงจะมาซื้อกับเรา
      ในการวิเคราะห์ตลาดของมืออาชีพเขาจะจ้างคนมาทำการสำรวจความคิดเห็น และนำไปวิเคราะห์ประกอบกับข้อมูลจำนวนมากที่เขามีอยู่ แต่เราคงไม่เสียเงินไปทำแบบนั้นแน่ๆ สิ่งง่ายๆที่เราทำได้คือการ “สังเกต” เอากันง่ายๆ เช่น ถ้าจะเปิดร้านขายน้ำผลไม้สดปั่นที่สยาม ก็ให้เริ่มไปสังเกต
www.d-housegroup.com
      1. สังเกตร้านแบบนี้ที่มีอยู่แล้วในทุกๆแห่ง ว่าใครเป็นคนซื้อ ขายดีมั้ย หากได้พูดคุยกับคนขายด้วยก็ดี แต่อย่าลืมว่า เรามาเพื่อเก็บข้อมูลเท่านั้นอย่าไปถ้อใจ ถ้าหากเห็นว่าร้านที่มีอยู่แล้ว ขายไม่ดีนักเพราะเรายังไม่ได้เริ่มทำ แต่ควรหาข้อมูลว่าทำไมจึงขายไม่ดี ในบางครั้งร้านค้าแบบเดียวกัน คนหนึ่งทำแล้วรุ่ง อีกคนทำแล้วเจ๊งก็มีเยอะ เพราะฉะนั้นไม่ต้องวิตก ในทางตรงกันข้าม หากแนวร้านค้าที่คุณจะทำขายดีมาก แม้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องมาวิเคราะห์แนวโน้มแล้วว่าคนจะแห่มาทำหรือไม่ เราช้าไปหรือเปล่าด้วย

      2. ให้สังเกตการซื้อการขาย ของร้านที่คล้ายๆกับเราในที่ๆเราจะทำเช่น ในสยาม ร้านพวกนี้อาจจะเป็นคู่แข่งเรา หรืออาจจะช่วยกันโตก็ได้ ไม่ต้องคิดมาก ให้พยายามตอบให้ได้ว่า ใครมาซื้อ และ ทำไมเขามาซื้อ (ทำเล สินค้า การตกแต่ง การบริการฯลฯ)

      3. ให้สังเกตพฤติกรรมของคนที่เราคิดว่าจะเป็นลูกค้าเรา ว่าเขาชอบอะไร เขาซื้ออะไร ทำไมซื้อ

      จบจากการสังเกตการณ์ เราก็พอจะทราบคร่าวๆว่า ใครจะมาซื้อเราและทำไมถึงซื้อ แต่ผมคิดว่าคุณคงยังไม่มั่นใจและเบลอๆ เพราะจริงๆข้อมูลที่ได้ จากการสังเกตถือว่าน้อยมาก ขอฝากอย่างหนึ่งว่า เราควรใช้เวลาในการสังเกตยาวนานพอสมควร และมากกว่า 2 ครั้งที่เป็นคนละวัน บางครั้งบังเอิญเราไปในช่วงที่เงียบๆ ก็อาจ จะมาด่วนสรุปผลว่าไม่ดีได้
สำรวจตลาด 
ขั้นตอนต่อมาเราจะเริ่มหารายละเอียดเพิ่มเติมในจุดต่างๆ วิธีการก็คือการทำแบบสอบถามง่ายๆ ขั้นตอนมีดังนี้

      1. สร้างแบบสอบถาม วิธีก็คือให้ถามตัวเองว่าเราอยากรู้อะไร เช่น คุณเป็นใคร อายุ อาชีพ เพศ แล้วคุณเคยดื่มอะไรบ้าง คุณเคยดื่มน้ำผลไม้ปั่นหรือไม่ ชอบมั้ย ดื่มบ่อยมั้ย ราคาควรเป็นเท่าไร.........อยากรู้อะไรถามเลย

      2. ออกสำรวจ วิธีการออกสอบถามง่ายๆ ก็คือเอาเพื่อนๆ และฝากเพื่อนไปถาม เพื่อนของเพื่อน หากเพื่อนไม่ใช่คนที่เราอยากถาม ก็ถามน้อง หรือเพื่อนน้อง ถามญาติพี่น้อง หรือหากกล้าและมีเวลาออกสำรวจตลาดจริงๆก็จะดี และได้รับรู้ข้อมูลที่ดีกว่า หลักง่ายๆคือถามให้ถูกคน และถามให้ได้จำนวนคนที่มากพอ

      3. วิเคราะห์ผล เราคงไม่ต้องไปพิสูจน์ผลที่ได้มาด้วย วิธีทางสถิติเพราะมันจะยากไป อย่างไรก็ตามการคำนวณง่ายๆ ประเภทเปอร์เซ็น ตอบรับ และปฏิเสธเป็นเท่าไรควรจะต้องทำบ้าง หลังจากที่อ่านและรวบรวมผลต้องบันทึกผลเอาไว้ด้วย

ความผิดพลาดที่มักเกิดจากการทำสำรวจ 
      1. คุยกับทุกคน ยกเว้นคนที่จะเป็นลูกค้า
      2. พยายามขายสินค้าแทนที่จะเพียงถาม
      3. อัดคำถามเข้าไปเพียงต้องการคำตอบ โดยไม่ให้เวลาคิด
      4. ลืมไปว่าที่ การตอบรับมาดี เพราะเราตั้งราคาไว้ต่ำ
      5. ลืมวิเคราะห์ผลของการตอบโต้ของคู่แข่งที่อาจจะเกิด

ทดสอบตลาด 
      หลังจากรู้ข้อมูลมากขึ้น ผมมั่นใจท่านคงรู้ข้อมูลมากขึ้นแล้วและอาจจะต้องปรับแนวความคิดให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้นสิ่งต่อมาคือการลองทดสอบตลาด ซึ่งท่านจะต้องมาปรับความคิด ของท่านใหม่ตามข้อมูลที่ได้มาแล้วจึงลองทำสินค้าจำลองหรือสั่งเข้ามาจำนวนน้อยๆเพื่อลองก่อน ยกตัวอย่างเพื่อนผมเคยทดลอง ขายเครื่องดื่มชูกำลังโดยการซื้อเครื่องดื่มชูกำลังที่มีอยู่ในตลาดมา แล้วเปลี่ยนฉลากใหม่ หลังจากที่ลองฝากขายตามร้านขายยา จึงรู้ว่ามันขายได้ไม่ดี หรือมีอะไรต้องปรับอีกเยอะ

      หลักของการทดสอบตลาดคือการทำที่เหมือนกับการขายจริง เพียงแต่ท่านยังไม่ได้ลงทุนอะไรไปมาก เช่นถ้าเป็นน้ำผลไม้สดปั่น อาจจะเริ่มจาก การตั้งเป็นโต๊ะสักแห่ง หากเป็นธุรกิจอื่น ก็อ่านลองแบบรถเข็น ลองออกงานแสดงสินค้า(สำหรับบางธุรกิจ) ลองขายทางอินเตอร์เนต ลองฝากขาย แจกสินค้าตัวอย่าง ให้ลองใช้แล้วถามผล